C L I C K

Tuesday 15 September 2015

ราชสีกับหนู หรือพลายงามแห่งทุ่งหญ้าสะวันน่า

ผมคงเปลี่ยนความคิดคนที่อ่านข้อความต่อจากนี้ไม่ได้ทั้งหมด และทุกคน
แต่ผมอยากให้คุณลอง ค่อยๆอ่าน และคิดตามผมช้าๆ นะครับ

ในธุรกิจทุกอย่าง มันต้องประกอบไปด้วย ผู้ผลิต ผู้ขาย และผู้ซื้อ

จะเล่าให้ฟังว่า วันนี้ได้มีโอกาสคุยทางโทรศัพท์กับผู้หญิงท่านหนึ่ง
เธอมีความมุ่งมั่นในการทำธุรกิจเครือข่าย ว่าง่ายๆ ก็ขายตรงนั้นแหละ
เป็นขายตรงจากทางอเมริกา นางทำมาได้ 5-6 เดือน จริงๆ นางพูดทุกอย่างดูดี สวยงาม รายได้ 2-3 หมื่นบาท ทั้งๆที่ยังทำงานประจำ เคยได้ไปทริปท่องเที่ยวมัลดิฟ ผมสะดุดในแง่เรื่องที่ว่า ผู้หญิงท่านนี้ มีลูกสาวที่ทำหน้าที่เป็นdownline ในการทำงานทุกอย่าง แม่ก็แค่รับเงิน รายได้ดีเชียว
ความใฝ่ฝันของนางคือต้องการเป็นต้นสายของAfrica
ว่าง่ายๆ จะเอาของไปขายที่นั้น ให้คนที่นั้น ได้รู้จักผลิตภัณฑ์ดีๆ
แนวความคิดดี เปิดตลาดดี จะเป็นผู้นำอันยิ่งใหญ่ เห็นระดับเพชรมงกุฎฑูต สองสถาบัน มีบ้านหลังใหญ่ รถแพงๆ เครื่องบินส่วนตัว ทริปท่องเที่ยวระดับโลก  
แต่ช้าก่อนคุณพี่ทั้งหลาย ที่พูดมานี้มันคิอ ผลไปหาเหตุครับ

เอาใหม่ พูดแบบตรงๆ แค่คิดจะเอาไปขายแอฟริกา โดยจะขนไปเอง ไม่ว่าจะส่งทางairfreight หรืออะไรก็ตาม แน่นอน
ด่านแรก สินค้าประเภทนี้ต้องผ่าน FDA (สำนักงานอาหารและยา)
กว่าจะทำพิธีทางศุลกากรที่ปลายทางอีก เรื่องDocuments มันเยอะครับ

อย่างที่สอง จะะรู้ได้ไงว่า สินค้าที่ส่งไปจะไม่หาย จะบอกว่า Africa มีกรณีคือตู้container ถูกปล้น ขโมยมาแล้ว ซึ่งตรงนี้บอกตรงๆว่า ถ้าใครโดนนี้ ยิ่งกว่าโคตรซวย

อย่างที่สาม การสร้างเครือข่ายในประเทศที่คุณไม่รู้จัก อีกอย่างเมื่อหลายปีก่อน ผมเคยโฟกัสที่ตลาดอัฟริกามาแล้ว ช่วงนั้นกรมส่งเสริมการส่งออก บอกว่านี้คือตลาดใหม่ (ใหม่จริงๆ) สิ่งสำคัญคือคุณต้องเข้าใจnature ของคนอัฟริกา ชนพื้นเมืองว่าเป็นคนอย่างไร พี่คนนี้เขาคิดว่าจะขายคนไทยในอัฟริกา การเปิดประเด็นนั้น มันก็เหมือนจะดี แต่ในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ การลงทุนบิน 14-15 ชั่วโมงจากBangkok ไป Johannesburg มันไม่ใช่น้อยๆ ทั้งเวลาและเงิน  บอกเลยว่า mindset พี่คนนี้ไม่ผ่าน

ผมวิเคราะห์ง่ายๆนะครับ ถ้าคิดจะไปเปิดตลาดใหม่ มันต้องดู possibility study คือ ศึกษาความเป็นไปได้ ไม่ว่าจะด้วยศักยภาพของคน แวดล้อม อย่าใช้ possibility feeling เด็ดขาด คือการคิดว่า มันต้องขายได้ มันมีโอกาส ใช่ครับ คิดว่ามีโอกาส แล้วทำไมไม่คิดถึงCLMV ( Cambodia / Lao ,Myanmar(Burma) and Vietnam) หล่ะ นี้แหละ ใกล้บ้าน มีความเป็นไปได้และเรารู้จักดีกว่าอัฟริกา

อีกเรื่องคือ การขนส่ง สินค้าผลิตจากอเมริกา ย้ำว่าผลิตจากอเมริกา เจ้าของสินค้าก็คือบริษัท อเมริกัน นิเอง แต่คนไทยคิดจะไปขายที่อัฟริกา คุณคิดง่ายๆ บริษัทระดับโลกแบบนี้ เขาไม่คิดเหรอว่า จะไปเปิดสาขาที่อัฟริกา ดังนั้นก่อนคิดจะไปทำตลาด ก็ควรศึกษาว่าบริษัทแม่ เขามีสาขาแล้วไหม ถ้ามีก็แค่ย้ายตัวเองไป แล้วทำตามแผนธุรกิจ แบบนี้ฉลาดกว่าการขนของไปขาย

สำหรับตลาดใหม่ ไม่ว่าจะเป็นอัฟฟริกา หรือ อินเดีย นับว่าเป็นตลาดที่น่าสนใจ แต่ต้องศึกษาให้ดี ผมเคยคุยกับคุณสาธิต เซกัล ท่านเป็นผู้ที่รู้เรื่องและเข้าใจตลาดอินเดียอย่างดี ท่านเคยให้คำแนะนำกับผมว่า อินเดียในแต่ละรัฐ ก็เป็นเหมือนแต่ละประเทศ มีประเพณี วัฒนธรรม พิธีปฎิบัติ ที่ต่างกัน แม้กระทั้งกฏหมาย

อินเดียมีประชากรรองจากจีน มีอำนาจซื้อมาก แต่คนจนก็มากเช่นกัน

แต่สำหรับแอฟริกา มีความซับซ้อน ประชากรด้อยคุณภาพ
เป็นทวีปที่ยังมีการเหยียดผิว
ในขณะที่อินเดียมีเรื่องวรรณะเข้ามาเกี่ยวข้อง

สิ่งนึงที่คนไทยหลายๆคนไม่ทราบคือ ตอนที่อังกฤษ เป็นประเทศล่าอาณานิคม ช่วงที่ไปยึดแอฟริกานั้น แรงงานคนผิวสี ถูกจับมาเป็นแรงงาน
แต่อังกฤษใช้คนอินเดีย มาคุมแรงงานคนผิวสี เพราะอะไรเหรอครับ
เพราะคนอินเดียนิ ตามจี้ เรียกว่า ตามงานชั้นดีเลยแหละ คุมแรงงานได้ดั่งตามคำสั่งของนายฝรั่งเลย
ไม่ต้องถามว่า คนผิวสีในสมัยนั้น โดนกดขี่ ขนาดไหน
แล้วสมัยนี้หล่ะ คนผิวสี ในแอฟริกา ไม่ขยันร่ำรวย ก็จนแบบสุดไปเลยครับ

ความท้าทายในตลาดทั้งสอง มันเป็นเรื่องที่น่าขบคิด เหมืองทองและเพชรหลายๆเหมืองอยู่ในแอฟริกา ดูจะเป็นแหล่งอุดมสมบูรณ์ แต่ผู้คนกลับยากจน ถ้าคุณเคยดูหนังเรื่อง Blood Diamond คุณก็คงจะเข้าใจ

ผมให้เวลากับสองตลาดนี้ ใครไปก่อน คลิ๊กกับจริต( consumer Behavior)  ของที่นั้นได้ รับรองครับ ว่าไปรุ่งแน่นอน

ผมเชื่อว่าคนไทย สามารถเป็นผู้นำตลาดเองได้
ไม่จำเป็นต้องไปเป็นเครือข่่าย หรือ downline ให้ใครหรอก

มาเป็นbusiness owner จริงๆ
ที่ไม่ได้มี upline ผู้ยิ่งใหญ่ให้คุณต้องขอขอบคุณทุกครั้งเวลาขึ้นพูดบนเวทีว่า ขอขอบคุณผู้เปิดโอกาส....

โอกาสมีทุกที มีให้กับทุกคน และทุกเวลา
เหลือเพียงแต่คุณจับมันได้ไหม และจับทันหรือเปล่า