C L I C K

Monday 31 January 2022

ในหนึ่งปี....เจออะไรบ้าง

 สวัสดีปีใหม่ 2565

นี้อาจจะเป็นคำกล่าวสวัสดีปีใหม่ที่ช้าที่สุดในโลก แต่ไม่ใช่เลย ผมพูดแบบนี้ เพราะในหนึ่งปี
เราทำงานกัน 300 กว่าวัน ก็จริงอยู่ สำหรับคนที่ทำงานทุกวันแบบผม 
ปัญหานึงที่ผมมักมีคำถามกับตัวเองคือ การร่วมงานกับคนที่ไม่ใช่คนประเภทเดียวกับเรา
ยกตัวอย่าง ในช่วงมกราคม ถึง กุมภาพันธ์ของทุกปี จะมีเทศกาลหยุดยาว คือ ตรุษจีน
ถ้าคุณทำธุรกิจกับประเทศจีน จงทำใจการหยุดยาวระดับ 2-3 สัปดาห์ได้เลย
แต่สิ่งที่ผมเจอไม่ใช่แค่การหยุดยาว เหมือนตรุษจีน ในประเทศจีน
แต่ผมเจอคนที่ทำงานแบบไม่วางแผน 

การไม่วางแผน หรือ ไม่มีแผนคือความไม่แน่นอนในการทำงาน

ในหนึ่งปีจะมีวันหยุดหลายๆแบบ หยุดธุรกิจ หยุดศาสนา หยุดเทศกาล ฯลฯ แต่คนที่เราทำงานด้วย บางคนก็เอาโอกาสหยุดเหล่านี้เป็นข้ออ้าง อย่างเช่น ช่วง มกรา-กุมภา ก็อ้างว่า ติดปิดตรุษจีน
มีนา-เมษา ก็ติด สงกรานต์ //  พฤษภา-มิถุนา ติดเข้าพรรษา ติดเทศกาลนั้น โน้น นี้
เรียกว่า ในหนึ่งปี คุณจะเจออาการชะงัก อาการเลื่อน อาการดึงเชง 

ถามว่าผิดไหม ไม่ผิด เพราะมันเป็นประเพณี เป็นวัฒนธรรม เป็นธรรมเนียม แต่คนที่ต้องติดต่อประสานงาน
คนที่ต้องรับเช็ค คนที่ต้องพรีเซนต์งาน คนที่ต้องเตรียมตัวเพื่อจะดำเนินงานบางอย่าง ทุกกิจกรรมล้วนแล้วแต่ เจอวันหยุด และ การหยุดยาว

ผู้ประกอบการ เจ้าของ อาจจะรู้สึกว่าสิ่งเหล่านี้ ขัดความรู้สึก แต่คนที่ชอบวันหยุดเหล่านี้ หยุดยาวๆ ก็น่าจะเป็นผู็ใช้แรงงาน ลูกจ้าง พนักงานเงินเดือน ซึ่งเจ้าของกิจการ หรือ คนทำธุรกิจส่วนตัว ก็จะคิดไม่เหมือนคนทำงานประจำ หรือลูกจ้างแน่นอน

ส่วนตัวผม หลายครั้งที่ต้องทำงานร่วมกับคนอื่น อาทิ งานนายหน้า สิ่งที่ผมเจอคือ ช่วงปลายปี สองสาม สัปดาห์ก่อนจะสิ้นปี ก็จะเจอคำพูดที่ว่า ปลายปีแล้ว ไม่มีคนทำงานหรอก เขาไปเที่ยว วางแผนพักผ่อนกันหมดแล้ว ความคิดแบบนี้ ผมไม่เคยมีตั้งแต่ 5 6 ปีก่อน ทำไมต้องหยุดก่อน 2- 3 สัปดาห์ ทำไมถึงคิดแบบนั้น
เอาหล่ะ life style คนเราไม่เหมือนกัน เราไม่ได้หวังให้เขาคิดแบบเรา และเราไม่มีสิทธิ์ไปตัดสินว่า เขาถูก หรือ เราถูก หรือ เขาผิด ซึ่งเราไม่มีสิทธิ์ไปตัดสินเขา มันคือเรื่องของเขา

จะยังไงก็ตามแต่ ถ้าคุณหรือใครๆ รู้ว่ามันใกล้ถึงเวลา กำหนดการทำงาน ก็ควรเลี่ยงเอาวันหยุดเหล่านั้น มาใช้เป็นเครื่องมือในการดึงเวลาออกไป การยืดออกไปของฝ่ายหนึ่ง ก็กระทบต่ออีกฝ่าย และจะเป็นผลกระทบแบบลูกโซ่ งานส่งช้า วางบิลช้า เลื่อนกำหนดจ่ายเงิน ต้องยืดชำระหนี้ ดอกเบี้ยก็เพิ่ม ภาระก็ตามมา
อันนี้แค่ตัวอย่างแบบไม่ซับซ้อน

แต่ถ้าคนเราไม่ได้มีแค่งานเดียว แต่มีงานที่เจอลักษณะแบบนี้เป็น 10 งาน ในเวลาใกล้เคียงกัน
โดยดึงด้วยเงื่อนไขเวลา ถูกผัดเปลี่ยน เอาเรื่องวันหยุดมาดึงออกไป เจ้าหน้าที่ลางานก่อนวันหยุดยาว
งานไม่เดิน ยังไม่นับเจ้าหน้าที่ ที่ทำงานไม่ทัน ทำเอกสารตกหล่น เอกสารหาย หรือแม้กระทั้งลืมทำ หรือ ลืมตามเอกสารให้

บางครั้งก็ได้แต่ภาวนาว่า เมื่อไหร่จะเลิกหยุดยาวๆเสียที คิดง่ายๆนะ ในประเทศนี้ เปิดมกราคม กำลังเดินงานไปเรื่อง หยุดตรุษจีน พอกำลังเต็มที่ เมษา หยุดสงกรานต์ นี้ผ่านมา 4เดือนแล้วนะ ผ่าน ไตรมาสแรกเรียบร้อย พอพฤษภา-มิถุน-กรกฎา-สิงงหา ก็มีหยุดประปราย ตามทาง ให้สะดุด ผ่านเข้าไตรมาสที่ สอง
กันยา-ตุลา-พฤศจิกา-ธันวา จบไตรมาสที่สาม หมดปี ว่าง่ายๆ เดือนพฤศจิกา กับ ธันวา หลายคนก็คิดจะไปเค้าท์ดาว์น จะไปลาพักยาว แล้ววัฎจักรมันก็วนแบบนี้ เป็นปีๆ มาไม่รู้เท่าไหร่ต่อเท่าไหร่



credit:https://executivesupportmagazine.com/wp-content/uploads/2021/02/xxviii.-boredom-iStock-47674174i2.jpg

ผมไม่มีอำนาจในการจะเปลี่ยนแปลงวันหยุดของประเทศให้เป็นไปอย่างที่ต้องการ แต่ควรต้องปรับวิธีการทำงานของตัวเองให้ทัน ให้เสร็จ ให้สำเร็จก็เงื่อนไขของเวลา วันหยุด จะเข้ามาทำลายความสุขหรือมาสะดุดชีวิตการทำงานของเรา

เริมจากการวางแผน  ทำขั้นตอนการทำงาน ติดตามงาน และ ตั้งคำถามเสมอว่า
ขั้นตอนต่อไป ต้องทำอย่างไร แล้วถ้าเกิดปัญหา จะต้องแก้ไขอย่างไร
ตั้งเงื่อนไขว่า ถ้าไม่ได้อย่างนี้ แล้ว จะแก้เกมอย่างไร ทำแผนสำรองไว้ 2 -3 ขั้นตอน
และวางเส้นทางการเดินงานไว้หลายๆ แบบ เพราะถ้าเกิดกรณีฉุกเฉินอะไรขึ้นมา จะได้หยิบแผนเหล่านั้น
ขึ้้นมาใช้งานได้ทันที

มองสถานการณ์ทุกอย่าง ไว้ 3 แบบ
ส่วนตัวผมมักมองรูปแบบของผลการทำงานไว้ สามรูปแบบ
1.กรณีที่ดีที่สุด (Best case scenario)  อันนี้คือ ได้ผลเกินคาดที่วางไว้ในแผน 
2.กรณีที่ปรกติ (Normal case Scenario) อันนี้คือ ตามแผน ไม่มีได้ดีกว่า หรือ แย่กว่า
3.กรณีที่เลวร้านที่สุด (Worst Case Scenario) อันนี้คือ ล้ม แย่ที่สุด เรียกว่า พินาศ

ถามว่าทำไมต้องคิดไว้สามรูปแบบ เพราะสามรูปแบบนี้ คือ การมองปลายทางว่า อะไรที่จะเกิดขึ้นได้
แล้วให้หาทางแก้ไข หรือป้องกันไม่ให้เกิดกรณีที่ 3 ว่าง่ายๆคือ อุดช่องโหว่ ไม่ให้เกิดความพินาศ นั้นแหละ

สรุปแล้ว...การทำงานให้สำเร็จผล ไม่ใช่เพียงมุ่งไปที่ผลสำเร็จแต่อยู่ที่กรอบเงื่อนไขเวลา คนที่เราร่วมงานด้วย และ องค์กรที่เราประสานงาน บางครั้งมันไม่ได้ยึดแค่เรื่องเวลา แต่ตัวบุคคลก็มีผลทำให้งานล่าช้าด้วยเช่นกัน

credit:https://www.kbresearch.com/concept-files/scenario-planning-v2.png