C L I C K

Thursday 28 April 2022

สรรพคุณและคุณประโยชน์ของใบกระท่อม


ประโยชน์ของใบกระท่อม 

 

กระท่อมถือเป็นสมุนไพรท้องถิ่นที่ชาวบ้านใช้กันมาอย่างยาวนาน โดยนิยมนำใบมาเคี้ยวสด ๆ เพื่อให้มีแรงทำงาน ใบกระท่อมมีฤทธิ์กระตุ้นประสาท ทำให้ให้รู้สึกมีความสุข ทนแดด ทำงานได้นานขึ้น ไม่อยากอาหาร
นอกจากนี้ ใบกระท่อมยังมีสรรพคุณทางยาช่วยรักษาอาการท้องเสีย บรรเทาอาการปวดเมื่อยได้อีกด้วย ปัจจุบันมีการนำใบกระท่อมมาใช้หลายวิธี เช่น เคี้ยวใบสด หรือบดเป็นผงผสมน้ำ 
-
ช่วยบรรเทาอาการปวด บรรเทาอาการไอ
- ช่วยลดการหลั่งกรดในกระเพาะ
- ช่วยทําให้นอนหลับ
- ช่วยทําให้เรามีสมาธิมากขึ้น
 


แล้วยังมีการศึกษาวิจัยเบื้องต้นว่า พืชกระท่อมยังสามารถใช้ทดแทนยามอร์ฟีนที่ได้รับปวดได้
เพียงแต่จะมีฤทธิ์น้อยกว่าสิบเท่า แต่ข้อดีก็คือผลข้างเคียงที่จะกดอาการหายใจ หรือทําให้เกิดคลื่นไส้อาเจียนก็จะน้อยตามลงด้วยค่ะ
นอกจากนี้ยังสามารถใช้บําบัดผู้ที่ติดยาเสพติดหรือติดมอร์ฟีนได้อีกด้วย  แต่ถ้าเราเสพเกินขนาด มันจะมีโทษยังไงกันน่ะ

ในการวิจัยในหนูทดลอง ที่ชี้ว่าพืชกระท่อม แก้อาการซึมเศร้าได้ โดยวิเคราะห์จากรูปแบบคลื่นสมองของหนูทดลอง และพฤติกรรมของหนู พบว่าเมื่อให้หนูทดลองว่ายน้ำ หนูที่ได้รับสารจากพืชกระท่อม จะมีรูปแบบการเคลื่อนไหวแบบแอคทีฟ ไม่เซื่องซึมหรือหยุดนิ่งเมื่อเปรียบเทียบกับหนูกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับสารสกัดจากใบกระท่อม  ซึ่งจะได้มีการศึกษาในมนุษย์ต่อไป 
และในงานวิจัยพบว่าสารสกัดจากพืชกระท่อมที่มีฤทธิ์การต้านแบคทีเรีย S.aureus และ E.coli ซึ่งแบคทีเรียทั้งสองตัวนี้เป็นสาเหตุของโรคท้องเสีย

 

ด้านสังคมและเศรษฐกิจ

·     สร้างรายได้ให้แก่ชาวบ้าน กระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน

·     ลดคดีเกี่ยวกับกระท่อม และช่วยประหยัดงบประมาณรัฐไปได้อีกทาง

 

ผลเสียของกระท่อม 
เนื่องจากในใบกระท่อมมีส่วนประกอบของไมทราไจนีน (
Mitragynine) ซึ่งเป็นสารเสพติดจำพวกอัลคาลอยด์ ออกฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง (คล้ายยาบ้า) จึงอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงจากการใช้กระท่อมได้ หากใช้ในปริมาณที่มากเกิน    ข้อเสียที่พบได้ เช่น 

  • มึนงง
  • คลื่นไส้
  • อาเจียน
  • ปากแห้ง
  • ไม่อยากอาหาร
  • นอนไม่หลับ (ใช้ในปริมาณที่มากเกินไป)
  • ปัสสาวะบ่อย
  • ท้องผูก
  • กล้ามเนื้อกระตุก
  • หวาดระแวง
  • เห็นภาพหลอน

ภาวะถุงท่อม คืออะไร ?

ภาวะถุงท่อม ถือเป็นผลข้างเคียงอย่างหนึ่งจากการใช้ใบกระท่อม เนื่องจากร่างกายของคนเราไม่สามารถย่อยก้านและใบกระท่อมได้ หากใช้มากเกินไปหรือไม่รูดก้านกระท่อมออกก่อน อาจทำให้มีกากหรือเศษกระท่อมตกค้างอยู่ในลำไส้ จนเกิดพังผืดหุ้มรอบเศษกระท่อมนั้น ก้อนพังผืดในลำไส้นี้เรียกว่า “ถุงท่อม” 

ใครบ้าง ที่ไม่ควรใช้ใบกระท่อม?

  • ผู้หญิงที่ท้องและให้นมบุตร
  • ผู้ที่มีความผิดปกติทางจิตใจ
  • ผู้ที่มีการติดสุราเรื้อรัง
  • ผู้ที่เป็นโรคหัวใจ

รับประทานยังไงให้ถูกวิธี ?

ไม่ควรรับประทานเกินวันละห้าใบ เคี้ยวเหมือนที่เราเคี้ยวหมาก เคี้ยวเคี้ยวเสร็จแล้วคายกากทิ้ง ไม่ควรที่จะกลืนกากลงไป แล้วก็ไม่ควรที่จะกินก้านตรงนั้นด้วย เนื่องจากร่างกาย เราไม่สามารถย่อยทั้งใบและก้านของกระท่อมได้ ถ้าเกิดเรากลืนทั้งก้านและใบลงไป จะทําให้เกิดภาวะถุงท่อมนั่นเอง

เกร็ดความรู้

กระท่อมเพิ่งปรากฏเป็นยาเสพติดต้องห้ามตามกฎหมายเป็นครั้งแรกในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อานันทมหิดล (รัชกาลที่ ๘) ซึ่งเหตุผลที่แท้จริงของการออก พ.ร.บ.พืชกระท่อม พ.ศ. ๒๔๘๖ เนื่องจากฝิ่นที่รัฐเป็นผู้ผูกขาดผลิตฝิ่นสุก ฝิ่นดิบ มีราคาแพง ท าให้คนหันมาสูบกระท่อมแทนฝิ่น ดังนั้น จึงเห็นได้ว่าแท้ที่จริงการตรา พ.ร.บ.พืชกระท่อม พ.ศ. ๒๔๘๖ และใช้สืบเนื่องมาจนทุกวันนี้มี เหตุผลและหลักการทางการค้าทางภาษีของรัฐ หาใช่เพราะเหตุที่พืชกระท่อมเป็นพืชเสพติดเองไม่ ซึ่ง หลักเกณฑ์ที่องค์การอนามัยโลกก าหนดเป็นแนวทางในการพิจารณาเพื่อจัดให้เป็นยาเสพติดที่จะต้อง ควบคุมนั้นมีดังนี้ 1. เมื่อไม่ได้เสพแล้วก่อให้เกิดอาการขาดยา 2. มีประโยชน์ทางการแพทย์น้อยหรือไม่มีเลย 3. ก่อให้เกิดปัญหาทางสาธารณสุข 4. ก่อให้เกิดปัญหาทางสังคม  

อ้างอิง : กระท่อม ยาระงับปวดหรือยาเสพติด เรียบเรียงโดย ผศ.ดร.นิวัติ แก้วประดับ ภาควิชาเภสัชเวท และเภสัชพฤษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

#กระท่อม #ประโยชน์ 

Source:https://www.fascino.co.th/article/post/katom-good-bad 
https://rdo.psu.ac.th/th/index.php/recommend/1960-2021-09-04-10-09-16
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/bitstream/123456789/1957/1/60312315.pdf