C L I C K

Wednesday 12 September 2018

ETDA เปิดพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตปี 61

สุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เปิดเผย ผลสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตประเทศไทยปี 2561 ในงาน ETDA สู่ปีที่ 8 “Future Economy and Internet Governance: Big Change to Big Chance” พบว่า พฤติกรรมการใช้งานอินเทอร์เน็ตยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง 

โดยคนไทยใช้อินเทอร์เน็ตเฉลี่ยนานขึ้นเป็น 10 ชั่วโมง 5 นาทีต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 3 ชั่วโมง 41 นาทีต่อวัน โดย Gen Y เป็นแชมป์การใช้งานอินเทอร์เน็ตสูงที่สุดติดกันเป็นปีที่ 4 เป็นผลมาจากการเปลี่ยนผ่านชีวิตไปสู่ดิจิทัลเพิ่มมากขึ้น
พร้อมกันนี้คนไทยยังนิยมใช้โซเชียลมีเดีย อาทิ Facebook, Instagram, Twitter และ Pantip สูงมากถึง 3 ชม. 30 นาทีต่อวัน ขณะที่การรับชมวีดีโอสตรีมมิ่ง เช่น YouTube หรือ Line TV มีชั่วโมงการใช้งานเฉลี่ยอยู่ที่ 2 ชม.​ 35 นาทีต่อวัน ส่วนการใช้แอปพลิเคชันเพื่อพูดคุย เช่น Messenger และ LINE เฉลี่ยอยู่ที่ 2 ชม. ต่อวัน การเล่นเกมออนไลน์อยู่ที่ 1 ชม. 51 นาทีต่อวัน และการอ่านบทความหรือหนังสือทางออนไลน์อยู่ที่ 1 ชม.​ 31 นาทีต่อวัน

เมื่อดูการเปลี่ยนผ่านการใช้ชีวิตประจำวันไปสู่ชีวิตดิจิทัล จะเห็นได้ว่า 5 อันดับแรกที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทำกิจกรรมทางออนไลน์มากกว่าแบบดั้งเดิม ได้แก่ การส่งข้อความ 94.5% การจองโรงแรม 89.2% การจอง/ซื้อตั๋วโดยสาร 87.0% การชำระค่าสินค้าและบริการ 82.8% และการดูหนัง/ฟังเพลง 78.5% ตามลำดับ

นอกจากนี้ ผลสำรวจยังพบว่ามีหลากหลายกิจกรรมที่คนไทยยังมีความสุ่มเสี่ยงในการถูกละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล จากพฤติกรรมดังนี้
1. ไม่เปลี่ยนรหัสผ่านทุก ๆ 3 เดือน 45.34%

2. การให้วันเดือนปีเกิดที่แท้จริงผ่านสื่อสังคมออนไลน์ 45.04%

3. เมื่อทำธุรกรรมทางการเงินผ่านเว็บไซต์ธนาคารก็ละเลยที่จะสังเกตว่าเป็นเว็บไซต์ที่ขึ้นต้นด้วย https:// หรือไม่ 44.48%

4. เปิดอีเมล/คลิกลิงก์ที่ไม่รู้จัก 43.36% และ

5. อัปโหลดรูปถ่าย/วิดีโอทันทีหลังถ่ายผ่านสื่อสังคมออนไลน์ 35.70%

สำหรับกลุ่ม Baby Boomer เป็นกลุ่มที่น่ากังวลมากที่สุด เช่น เมื่อทำธุรกรรมทางการเงินผ่านเว็บไซต์ธนาคารก็จะละเลยที่จะสังเกตว่าเป็นเว็บไซต์ที่ขึ้นต้นด้วย https:// หรือไม่ 55.94% และเมื่อสิ้นสุดการใช้งานคอมพิวเตอร์สาธารณะ/อุปกรณ์เคลื่อนที่ของผู้อื่นก็ไม่ลบประวัติการใช้งาน 46.96% หรือไม่ลงชื่อออกจากการใช้งานจากเครื่องดังกล่าว 26.14% รวมถึงการที่ไม่ได้ล็อกหน้าจออัตโนมัติ 29.71%

ขณะที่ Gen Z จะมีความสุ่มเสี่ยงในเรื่องของการให้วันเดือนปีเกิดที่แท้จริงผ่านสื่อสังคมออนไลน์ 55.97% การไม่เปลี่ยนรหัสผ่านทุกๆ 3 เดือน 53.73% หรือเปิดอีเมล/คลิกลิงก์ที่ไม่รู้จัก 51.49% รวมทั้งเมื่อใช้งานคอมพิวเตอร์สาธารณะ/อุปกรณ์เคลื่อนที่ของผู้อื่นมักตั้งค่าให้อุปกรณ์ดังกล่าวจดจำรหัสผ่าน เพื่อจะได้ไม่ต้องพิมพ์ใหม่ทุกครั้ง 28.36% และคลิกลิงก์ของธนาคารที่ได้จากแหล่งอื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของธนาคารโดยตรง 16.42%

ส่วน Gen Y มักจะชอบทำกิจกรรมเสี่ยงผ่านสื่อสังคมออนไลน์ โดยตั้งค่าเป็นสาธารณะ เช่น การอัปโหลดรูปถ่าย/วิดีโอทันทีหลังถ่าย 37.90% รวมทั้งการอัพโหลดภาพตั๋วเครื่องบิน/Boarding pass ก่อนการเดินทาง 33.77% และการแชร์ตำแหน่ง (Location) แบบ Real time 13.57% ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ถือเป็นการสร้างความไม่ปลอดภัยให้กับเจ้าของข้อมูล ดังนั้นจึงควรตั้งค่าดังกล่าวเป็นส่วนตัว เปิดให้เฉพาะเพื่อน หรือญาติพี่น้อง หรือคนที่ไว้ใจได้เท่านั้น

ภายหลังการแถลงผลสำรวจ ETDA ยังได้จัดให้มีพิธีลงนามความร่วมมือระหว่าง ETDA กับ Digital Asia Hub Hong Kong ซึ่งเป็นศูนย์วิจัยในรูปแบบขององค์กรไม่แสวงหากำไรที่จัดตั้งโดยศูนย์เบิร์กแมนไคลน์เพื่ออินเทอร์เน็ตและสังคมแห่งโรงเรียนกฎหมายฮาร์วาร์ด (The Berkman Klein Center for Internet & Society, Harvard Law of School) เพื่อร่วมกันจัดตั้ง The Digital Asia Hub Thailand หรือ DAH.th เพื่อสร้างเครือข่ายและการทำงานร่วมกันในประเด็นทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัล เศรษฐกิจ และสังคม ซึ่งเปิดกว้างสำหรับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน โดยร่วมกันพัฒนาศักยภาพ เผยแพร่ความรู้ และการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ศาสตราจารย์ ดร. อูร์ส แกสเซอร์ (Prof. Dr. Urs Gasser) ผู้อำนวยการศูนย์เบิร์กแมนไคลน์ฯ กล่าวถึงความร่วมมือในการจัดตั้ง Digital Asia Hub Thailand ว่าเป็นความร่วมมือเพื่อเดินหน้าสู่ Digital Transformation ในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งจะใช้เป็นเวทีสำหรับการสร้างความร่วมมือ และการทำงานร่วมกันในมิติต่าง ๆ รวมทั้งเปิดกว้างสำหรับผู้มีส่วนได้เสีย ทั้งในเชิง Digital Technology เศรษฐกิจและสังคม เพื่อแบ่งปันความรู้และการศึกษาวิจัย รวมถึงการแปลงผลการศึกษาวิจัยไปสู่ทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ตลอดจนสนับสนุน การทำงานในระดับผู้กำหนดนโยบายและกลุ่มประชาสังคม

Digital Asia Hub Thailand จะทำหน้าที่เป็นจุดเชื่อมโยงทางด้านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและสังคมของเครือข่ายในระดับภูมิภาคและระดับโลก รวมถึง Digital Asia Hub ในฮ่องกง และ Berkman Klein Centre ที่ Harvard Law School ในรูปแบบของเครือข่ายความร่วมมือ ทั้งในด้านของผู้เชี่ยวชาญ การวิจัย และการอบรมบุคลากร

สำหรับการดำเนินกิจกรรมของ Digital Asia Hub Thailand ประกอบด้วย 3 กิจกรรมหลัก ได้แก่

1.การทำงานร่วมกันระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ (Multi-Stakeholder Collaboration) ทั้งระดับภูมิภาคและนานาชาติ ซึ่งมีทั้งภาคการศึกษา ภาคอุตสาหกรรม และรัฐบาล ในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในประเด็นด้าน Digital Transformation

2. หลักสูตรการศึกษาโดยจัดกิจกรรมการศึกษาและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ที่มุ่งให้ข้อมูลแก่ผู้มีอำนาจตัดสินใจในภาคเอกชนและภาครัฐเกี่ยวกับประเด็น Digital Transformation กฎหมายและทางสังคม รวมถึงการจัดโครงการฝึกงานหรือโครงการแลกเปลี่ยนระยะสั้นในกลุ่มความร่วมมือ

3.การสนับสนุนด้านการวิจัยซึ่ง Digital Asia Hub Thailand จะมีส่วนร่วมในการวิจัยที่มุ่งเน้นประเด็นการปรับใช้หลักการของ GDPR, Cybersecurity Analytic กับการพัฒนาขีดความสามารถ และประเด็นเทคโนโลยีเศรษฐกิจดิจิทัลที่เกิดขึ้นใหม่

credit:
https://www.etda.or.th/content/etda-reveals-thailand-internet-user-profile-2018.html

Friday 20 April 2018

สังคมไร้เงินสด Part 2


สังคมไร้เงินสด ภาค 2
"ไม่รับเงินสด" เป็นป้ายที่พบเห็นกันได้มากขึ้นในร้านค้า และร้านอาหารทั่วไปในสวีเดน โดยร้านค้าเหล่านั้น จะรับการช าระเงินจากการจ่ายโดยบัตรเครดิต/เดบิต และการช าระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือเท่านั้น ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทางการสวีเดนได้ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนหันมาใช้จ่ายโดยบัตรเครดิต/เดบิต และ การชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือมากขึ้น โดยชูให้เห็นถึงประโยชน์มากมาย เช่น การลดปัญหาอาชญากรรมจากการถือครอง เงินสด การลดปัญหาการฟอกเงิน และความสะดวกสบายทางระบบไอที ที่หลายองค์กรได้เตรียมการรองรับไว้ และเห็นได้ชัดว่าได้รับการตอบรับอย่างดีจากสังคม อย่างไรก็ดี ธนาคารกลางสวีเดนเริ่มส่งสัญญาณความน่าวิตกกังวลจากการลดปริมาณ การใช้เงินสดในสังคมที่มีอยู่มากขึ้นนี้

ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ในช่วงกำลังพิจารณาถึงสถานการณ์ต่างๆ และคาดว่าจะมีรายงาน เพิ่มเติมในช่วงฤดูร้อนปี 2561 นี้ ทั้งนี้ นาย Mats Dillen ต าแหน่ง head of the parliamentary เห็นว่า การลดลงของเงิน สดในสังคมที่เกิดขึ้นเร็วเกินไปอาจก่อให้เกิดปัญหาการรักษาโครงสร้างพื้นฐาน กลุ่มประเทศนอร์ดิกส์ได้รับการยกย่องว่าเป็นสังคมที่ไร้เงินสดที่สุดในโลก ธนาคารหลายแห่งในกลุ่มประเทศ นอร์ดิกส์ทำหน้าที่ เปรียบเสมือนสำนักงาน ทั่วไป ที่หยุดการจ่ายเงินสด และไม่มีเงินสดให้เบิก ร้านค้า พิพิธภัณฑ์และ ร้านอาหารจำนวนมาก ยอมรับการชำระเงินด้วย บัตรเครดิต/เดบิต หรือการ ชำระเงินผ่าน โทรศัพท์มือถือโดยแอพลิ เคชั่นต่างๆ เท่านั้น อย่างไร ก็ตาม กลุ่มผู้สูงอายุยังคง นิยมถือครองเงินสดอยู่
 
ที่มา: Bloomberg ปริมาณเงินสดในสังคมสวีเดนที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง Image:Bloomberg
กระแสสังคมไร้เงินสดเริ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ธุรกิจของคุณเตรียมพร้อม และรองรับกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นแล้วหรือยัง?!?!?


source:http://www.ditp.go.th/ditp_pdf.php?filename=contents_attach/225360/225360.pdf&title=225360
http://exadev.se/wp-content/uploads/2018/02/Cash.jpg 
http://2oqz471sa19h3vbwa53m33yj.wpengine.netdna-cdn.com/wp-content/uploads/2016/05/war-on-cash.jpg 

Monday 8 January 2018

วิกฤตหนังสือพิมพ์ไม่อวสาน แต่ปาดเหงื่อ

วิกฤตหนังสือพิมพ์ไม่อวสาน แต่ปาดเหงื่อ
 ในโลกที่หมุนด้วยเทคโนโลยี หมุนเร็วยิ่งกว่าคลื่นความถี่ 4G แทบไม่น่าเชื่อว่าในรอบเกือบทศวรรษที่ผ่านมา ตั้งแต่ 2550 – 2559 ภูมิทัศน์สื่อสิ่งพิมพ์ไทยในปัจจุบันจะเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ

จากที่ 10 ปีที่แล้วนักข่าวภาคสนามส่วนใหญ่ใช้คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊กในการส่งข่าว ส่งข้อความผ่านทางอีเมล์ เพียงแค่ 5-6 ปีให้หลัง นักข่าวก็หันมาพิมพ์ข่าวบนสมาร์ทโฟน ส่งข้อมูลผ่านทางไลน์
กระทั่งวันนี้ Platform ของข่าวสารเปลี่ยนโฉมจากหนังสือพิมพ์ที่เป็น "กระดาษ" ใช้นิ้วมือทั้ง 5 นิ้ว จับ - สัมผัสกลิ่นน้ำหมึกได้  ย้ายไปอยู่ในโลกออนไลน์ ผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ แทปเล็ต และโทรศัพท์มือถือ
หนังสือพิมพ์ที่เป็น “สื่อกระดาษ” จึงถูกจัดว่าเป็นธุรกิจ Sunset เป็นธุรกิจที่รอวันตกจากฟ้า
ผนวกกับช่วงที่ธุรกิจซบเซาทั้งโลกมีผลสะเทือนต่อเศรษฐกิจโดยรวมของไทย ท่ามกลางบรรยากาศการเมืองที่เปลี่ยนไป พฤติกรรมการบริโภคข่าวสารของคนก็เปลี่ยนแปลง กระทบยอดจำหน่าย - จำนวนโฆษณาอันเป็น "รายได้" หลักของหนังสือพิมพ์ ลดลงฮวบฮาบ

สื่อทุกฉบับจึงเผชิญวิกฤติหลายเด้งคล้ายกัน เช่น ภาวการณ์ “ขาดทุน”
“ราชดำเนิน” เล่มนี้จึงอาสาสำรวจตลาด “หนังสือพิมพ์” ไทย ว่าแต่ละค่ายต้องปรับตัวรับมือปัญหาอย่างไร ในช่วงที่การเมืองผันผวนดังพายุ เศรษฐกิจซบเซา น้องๆ ภาวะวิกฤติเศรษฐกิจปี 40 บวกกับเทรนด์บริโภคข่าวสารของโลกเปลี่ยนแบบก้าวกระโดดปานสายฟ้าแลบจากอะแนล็อกมาสู่ยุคดิจิทัล

เครือโพสต์นสพ. ในเครือบริษัท โพสต์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) มีด้วยกัน 3 ฉบับ คือ Bangkok Post โพสต์ทูเดย์ และ M2F ที่ผ่านมาขาดทุนจากการไปทำลงทุนทีวี จึงต้องปรับลดต้นทุน รวมถึงค่าใช้จ่าย โดยเน้นเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรของบริษัท และได้ปิดกิจการ Post TV ซึ่งมีพนักงานนับร้อยคน โดยจ่ายเงินชดเชยตามกฎหมาย
โดยภาพรวมเครือโพสต์ในรอบปีที่ผ่านมา ไม่มีการปรับเพิ่มเงินเดือนพนักงาน และลดหน้า นสพ. ในวันทำการ รวถมึงวันหยุด และวันเสาร์-อาทิตย์ ลดการเดินทางไปต่างจังหวัดเพื่อลดการใช้ยานพาหนะของบริษัท งดเบี้ยเลี้ยงการเดินทาง ลดการทำงานนอกเวลาเพื่อประหยัดค่า OT
และหากมีนักข่าวลาออก ก็จะไม่รับคนเพิ่ม
สำหรับมาตรการอื่นๆ เช่น ประหยัดไฟในบริษัท ลดสวัสดิกรพนักงานเจ็บป่วย ให้เน้นใช้ประกันสังคมก่อนใช้บริการแพทย์ของออฟฟิศในการส่งตัวไปรักษาตามโรงพยาบาลที่มีคู่สัญญา งดเบี้ยค่าเลี้ยงรับรอง รวมถึงงดส่ง นสพ. ให้พนักงานที่บ้านอ่านทุกเช้า โดยเฉพาะ พนง.ของ Bangkok Post แต่ให้เปลี่ยนมาดูใน e-paper แทน

เครือเนชั่นผู้บริหารของบริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย จำกัด (มหาชน) ที่มีสื่อในมือหลากหลาย ทั้งทีวี อินเตอร์เน็ต และ นสพ. 3 ฉบับ ได้แก่ The Nation คมชัดลึก และกรุงเทพธุรกิจ ได้ส่งสัญญาณให้พนักงานรับรู้ตั้งแต่ปลายปี 2558 ว่าจะมีการรัดเข็มขัดการใช้จ่ายในองค์กรขนานใหญ่ เนื่องจากยอดโฆษณาตกลงอย่างน่าใจหาย กระทั่งต้องลดยอดพิมพ์ นสพ. บางฉบับ
อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารเครือเนชั่น ยังพยายามทำให้การบริหารงานภายในอยู่ในสภาวะปกติที่สุด ยังมีการขึ้นเงินเดือนตามปกติ ตามผลประเมินการทำงาน พนักงานยังได้รับโบนัส ในอัตราสูงสุดคือ 50% ของเงินเดือน
แต่ก็ตัดลงค่าใช้จ่ายบางอย่าง เช่น ค่าเขียนรายงานพิเศษลงใน นสพ. ที่สมัยก่อนเคยได้ แม้จะไม่มากนัก แต่ต่อไปก็ไม่มีแล้ว
หากมีคนลาออก จะใช้การบริหารจัดการบุคลากรภายในเพื่อทดแทนก่อน ถ้าเป็นตำแหน่งสำคัญจริงๆ ถึงจะรับคนเพิ่ม
ระยะหลังเครือเนชั่นหันไปหารายได้เพิ่มจากช่องทางอื่นๆ เช่น การจัดอีเว้นต์ขี่จักรยานตามจังหวัดต่างๆ โดยดึง อปท. และเอกชนในท้องถิ่นมาเป็นสปอนเซอร์

นสพ. ไทยรัฐแม้ยอดพิมพ์จะไม่แตะหลักล้านฉบับเหมือนที่เคยสูงสุดเมื่อกว่า 10 ปีก่อน แต่ นสพ. ของบริษัท วัชรพล จำกัด ยังเป็น นสพ.อันดับหนึ่งของเมืองไทยอยู่ดี
ค่ายสื่อหัวเขียวค่อยๆ ปรับลดค่าใช้จ่ายมาตลอดหลายปีหลัง เนื่องจากโฆษณาหายากขึ้น แต่ไม่มีการลดยอดพิมพ์เด็ดขาด แต่หันไปเน้นการเพิ่มรายได้จากออนไลน์ รวมถึงทีวีที่กำลังอยู่ในช่วงขาขึ้นแทน
มีการขอให้พนักงานร่วมกันประหยัดค่าใช้จ่าย เช่น การใช้รถยนต์บริษัท หากไปทางเดียวกัน ก็ขอให้ไปด้วยกัน จากที่เดิมต่างคนต่างไป หรือ car pool  หรือหากต้องการปริ๊นท์งานก็ขอให้เซ็นชื่อกำกับด้วย รวมถึงการยื่นเอกสารภายในต่างๆ เช่น ใบลา ก็ไม่ใช้กระดาษ แต่ให้ยื่นผ่านคอมพิวเตอร์แทน
ยังรับนักข่าวเพิ่มหากมีคนลาออกอยู่ พร้อมกับขึ้นฐานเงินเดือน ไม่ให้เหลื่อมล้ำจากค่ายอื่นๆ มาก แต่ลดโบนัสจากที่เคยได้สูงสุด 6 เดือน เหลือเพียง 3 เดือน ส่วน OT ไม่ได้ปรับลด เนื่องจากฐานเดิมไม่สูงอยู่แล้ว
ปรับวิธีการทำงาน เร่งปิดต้นฉบับให้เร็วขึ้น เพราะทางผู้บริหารไทยรัฐเชื่อว่า ถ้าวางแผงเร็วขึ้น ก็จะขายได้มากขึ้น



นสพ. เดลินิวส์หลังจากแยกทีวีออกไป ทำให้การบริหารจัดการภายในทำได้มีประสิทธิภาพขึ้น และผลประกอบการดีขึ้น อย่างไรก็ตาม นสพ.เดลินิวส์ของ บริษัท สี่พระยาการพิมพ์ จำกัด ก็เหมือนสื่อสิ่งพิมพ์ค่ายอื่นๆ ที่ต้องปรับลดค่าใช้จ่าย และหาวิธีเพิ่มรายได้จากออนไลน์ ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจย่ำแย่
ยังมีการปรับขึ้นเงินเดือนปกติ ตามผลประเมินประสิทธิภาพการทำงาน ในอัตรา 3-5% ไม่รวมถึงพนักงานที่มีอายุงานเกิน 5 ปี ที่ได้ปรับอีกครั้ง แต่หันไปลดค่าใช้จ่ายอื่นๆ แทน เช่น ค่าเดินทาง รวมถึงโบนัสที่อาจได้น้อยลงจากเดิม
จะไม่รับคนเพิ่มแล้ว หากมีใครลาออกก็ให้ไปบริหารจัดการภายในโต๊ะกันเอง
ระยะหลัง ค่ายบานเย็นจะเน้นหารายได้เพิ่ม ด้วยวิธีเดียวกับที่สื่อตะวันตกใช้ คือลงโฆษณาที่มีพวกคูปองส่วนลดห้างร้านต่างๆ โดยหวังว่า จะช่วยกระตุ้นยอดขายให้คนอ่านซื้อ นสพ.นี้มากขึ้น

เครือมติชนหนังสือพิมพ์ค่ายประชาชื่นที่มีหนังสือพิมพ์ 3 หัว คือ มติชน ข่าวสด และประชาชาติธุรกิจ ก็ต้องลดค่าใช้จ่ายของสำนักงาน มีแคมเปญรณรงค์ให้พนักงานช่วยกันประหยัดน้ำ – ไฟ
การเบิกจ่ายค่ารถ ค่าเวรมีการตรวจสอบที่เข้มงวด รัดกุมจากฝ่ายบัญชีมากขึ้น ขณะเดียวกัน ในปี 2559 ที่ผลประกอบการขาดทุนตั้งแต่ไตรมาสแรก ส่งผลถึงการตัดเงินโบนัสพนักงานครึ่งปีแรก จากช่วงปีที่ผ่านมาได้โบนัสปีละ 2 ครั้ง
พร้อมกับลดจำนวนหน้าของ นสพ.มติชน และ นสพ.ข่าวสดลง เหลือเพียง 24 หน้า อย่างไรก็ตาม เครือมติชน ก็เช่นเดียวกับค่ายหนังสือพิมพ์หัวใหญ่ฉบับอื่นๆ ที่ปรับทิศทางไปที่การเสนอข่าวบนแพล็ตฟอร์มออนไลน์เพิ่มมากขึ้นทั้งเว็บไซต์มติชนออนไลน์ ข่าวสดออนไลน์ และประชาชาติออนไลน์ และจะรุกโลกออนไลน์ด้วยการเปิดเว็บไซต์ของสื่อสิ่งพิมพ์ฉบับอื่นๆ ในเครือ  รวมถึงจัดอีเวนท์ต่างๆ เพิ่มมากขึ้นในแต่ละปี เพื่อดึงดูดเม็ดเงินโฆษณาที่ขาดหายไปจากหนังสือพิมพ์

นสพ.บ้านเมืองเป็นหนังสือพิมพ์หัวสีที่ก่อตั้งมา 44 ปี ผ่านร้อนผ่านหนาวกลางวิกฤติปี 2540 มาได้ แต่ในยุควิกฤติซึมลึกในปี 2559 บ้านเมืองเป็นอีกหนึ่งสื่อต้องรัดเข็มขัด แต่ด้วยเงินเดือนนักข่าวค่ายนี้ไม่สูงมากนัก ประกอบไม่มีโบนัสมาแต่ดังแต่ดั้งเดิมจึงทำให้เหลือนักข่าวเก่าๆ ที่ผูกโยงกับหนังสือพิมพ์มานาน แต่หากนักข่าวลาออกก็จะไม่รับคนเพิ่ม
เช่นเดียวกับฉบับอื่น บ้านเมืองจำต้องลดจำนวนหน้าลง จากเดิมที่มี 3 เซกชั่น เหลือ 2 เซกชั่น จำนวน 24 หน้า เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายในเบื้องต้น และในการประชุมบริษัทครั้งล่าสุด
ผู้บริหารขอให้ทุกกองเน้นส่งข่าวลงเว็บไซต์มากขึ้น เพื่อใช้เว็บไซต์มาหารายได้ทดแทน โดยมีแพ็คเกจจูงใจให้เอกชนมาลงโฆษณาที่เว็บไซต์พ่วงกับลงหนังสือพิมพ์ด้วย

นสพ.สยามรัฐอาจเปรียบได้ว่า “สยามรัฐ” เป็นหนังสือพิมพ์ที่อยู่คู่กับประวัติศาสตร์การเมืองร่วมสมัยหลายยุค หลายช่วงเวลา มีแฟนคลับที่เป็นกลุ่มคนรุ่นเก่าๆ รุ่นเก๋าลายคราม แต่ทว่าช่วงที่คนรุ่นใหม่ไม่ได้ใส่ใจหนังสือพิมพ์เหมือนในอดีต สยามรัฐก็ต้องปรับตัวให้เข้ากับภาวะเศรษฐกิจฝืดเคืองด้วยการลดจำนวนหน้าลง จาก 2 เซกชั่น เหลือเพียงเซกชั่นเดียว
นักข่าวถูกขอให้ส่งข่าวกลับโรงพิมพ์ให้เร็วขึ้นจากเดิม เพื่อต้องการปิดต้นฉบับในแต่ละวันให้เร็วขึ้น เพราะจะส่งผลไปถึงการลดจำนวนสายส่งหนังสือพิมพ์ไปยังต่างจังหวัด ขณะที่ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ของนักข่าวยังได้รับตามปกติ แต่สิ่งที่เปลี่ยนไปคือ ช่วงต้นปีที่ผ่านมาโบนัสเคยได้ประจำก็ไม่ได้เหมือนก่อน

นสพ.แนวหน้าอาจเป็น นสพ.พิมพ์ฉบับเล็กเพียงฉบับเดียวที่ยังไม่มีการขยับ ปรับ หรือ ลดจำนวนหน้าลง แต่ผู้บริหารเฝ้ามองสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์สื่อสิ่งพิมพ์อย่างใกล้ชิด ขณะนี้ ยังไม่มีการออกมาตรการใดๆ ให้พนักงานประหยัดค่าใช้จ่ายในองค์กร หากนักข่าวลาออกก็ยังให้รับนักข่าวเข้ามาประจำการแทนปกติ โบนัสให้ครึ่งเดือนเท่ากับปี 2558 แต่ไม่มีการขึ้นเงินเดือน
จะเห็นได้ว่าหนังสือพิมพ์เกือบทุกค่ายในปัจจุบันต้องออกมาตรการ “รัดเข็มขัด” เพื่อรับมือกับภาวะเศรษฐกิจซบ โลกเปลี่ยน
หากการออกมาตรการ “รัดเข็มขัด” เพื่อฝ่าแรงเสียดทานจากปัญหาต่างๆ ตามที่ “ราชดำเนิน” สำรวจมาข้างต้น มิใช่เกิดขึ้นครั้งแรก แต่ในวิกฤติเศรษฐกิจ “ต้มยำกุ้ง” เมื่อ 20 ปีที่แล้ว ก็ทำในลักษณะเดียวกัน

สรุปสถานการณ์สื่อสิ่งพิมพ์ไทยในรอบปี 2016


source:
http://www.tja.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=4071:2016-08-10-10-42-50&catid=158:-31-2559 
 http://www.daonong.com/upimg/userup/0902/131I25AF6.jpg
http://econintersect.com/b2evolution/media/blogs/a/Screenshot%20-%20%2010_30_01%20AM%206_5_2013%20001.png


Wednesday 3 January 2018

ทฤษฎีสมคบคิด ของ สังคมไร้เงินสด (Cashless Society)

 ทฤษฎีสมคบคิดของสังคมไร้เงินสด 
Cashless society ในมุมมองทางเศรษฐศาสตร์มหภาคบ้าง ยังไงอ่านบทความนี้โดยใช้วิจารณญาณนะครับ หลายอย่างเป็นความคิดเห็นเฉพาะบุคคล
เมื่อปีที่แล้วมีข่าวแปลกๆ เกี่ยวกับเศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่น หลังจากที่ธนาคารกลางของญี่ปุ่น (BOJ) ประกาศนโยบายดอกเบี้ยติดลบ เพื่อหวังกระตุ้นให้ธนาคารปล่อยเงินกู้ เพื่อคาดหวังให้เกิดการลงทุนที่มากขึ้น เมื่อการลงทุนภาคเอกชนสูงขึ้น ประชาชนก็จะเริ่มมีรายได้มากขึ้น คนใช้จ่ายเงิน เพิ่มการบริโภค เมื่อเกิดการหมุนเวียนของเงิน เศรษฐกิจจะพลิกฟื้นตามหลักทฤษฏีเศรษฐศาสตร์ที่เคยเข้าใจกันในอดีต 
ลดดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ..?!?
ผมเคยเขียนเล่าให้ฟังไปแล้ว ว่าทำไมทฤษฏีเศรษฐศาสตร์ที่เคยใช้กันมันถึงล้มเหลว ปีที่ผ่านมาก็สะท้อนความล้มเหลวของการลดดอกเบี้ยอีกครั้ง หลัง BOJ ลดดอกเบี้ย สิ่งที่ขายดีเพิ่มขึ้นแบบสุดๆ ในประเทศญี่ปุ่นก็คือตู้เซฟนิรภัย..!!
คนญี่ปุ่นซื้อตู้เซฟมาเพื่อถอนเงินจากธนาคารมาเก็บ (hoarding) ไว้ในตู้เซฟ แทนที่จะเอาไปใช้จ่าย เงินหายไปจากระบบไปอยู่ในตู้เซฟตามบ้าน การกักตุนเงินสดเร่งสภาวะเงินฝืดในญี่ปุ่นให้รุนแรงยิ่งขึ้นไปอีก 
เอาล่ะครับ ไอ้แนวคิดที่ลดดอกเบี้ยหวังให้คนรีบใช้เงินหวังให้ธุรกิจรีบเร่งลงทุน ภาคประชาชนและภาคธุรกิจกลับกลัวอนาคตยิ่งขึ้น ถ้าคนแห่ถอนเงินมาเก็บใส่ตู้เซฟ ธนาคารกลางจะทำยังไงต่อไป..? ปัญหานี้เป็นแทบทุกประเทศพัฒนาแล้วนะครับ ลดดอกเบี้ย แต่คนไม่กล้าใช้จ่าย ธุรกิจไม่กล้าลงทุน เพราะไม่มั่นใจในอนาคต แต่ญี่ปุ่นนี่หนักที่สุดที่เห็นภาพได้ชัดเจน 
วิธีแก้ของธนาคารกลางหลายๆ ประเทศ ก็คือ พยายามสร้าง Cashless Society หรือสังคมไร้เงินสดขึ้นมา..!!!
มันคือการแก้ปัญหาแบบกำปั้นทุบดิน ธนาคารกลางไม่อยากให้คุณถอนเงินไปใส่ตุ่ม ก็ยกเลิกเงินสดซะ ให้คุณถอนไม่ได้ ประเทศสวีเดนเป็นประเทศแรกที่เริ่มดำเนินนโยบายการกำจัดเงินสดทิ้งไป Riksbank ธนาคารกลางของสวีเดน ให้ความเห็นว่าการใช้เงินสดในสวีเดนจะลดลงอย่างรวดเร็วจนเหลือสัดส่วนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับเงินอิเลคโทรนิคใน 20 ปีหลังจากนี้ 
ในปัจจุบันทั่วโลกมีปริมาณเงินสด ประมาณ 10% จากเงิน M2 อธิบายให้เข้าใจภาพง่ายๆ (แต่ไม่ครอบคลุมนัก) ว่า M2 คือเงินทั้งหมดที่เป็นเงินสดรวมกับเงินในบัญชีเงินฝากธนาคารทั้งโลก  เป้าหมายของ Cashless Society ก็คือกำจัดไอ้เจ้า 10% นี้ทิ้งไป

ทำไมต้องกำจัด..? เรามาทวนความเข้าใจกันอีกซักนิด

ที่ผ่านมาธนาคารกลางหลายประเทศ (ยกเว้นสหรัฐที่เพิ่งเริ่มกลับมาเป็นดอกเบี้ยขาขึ้น) เชื่อว่าหน้าที่ของเขาคือจะต้องสร้าง “ระบบเศรษฐกิจในสภาวะดอกเบี้ยติดลบ (negative interest rates economy)” ให้กับโลกในระยะยาว เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายของประชาชน และการลงทุนของภาคเอกชน ด้วยความเชื่อว่าเมื่อเกิดการใช้จ่าย เศรษฐกิจจะพลิกฟื้นกลับมาได้ (ซึ่งในมุมมองผมเรื่องนี้เป็นความเชื่อที่ผิด)

แต่ถ้าดอกเบี้ยติดลบจริง คนจะไม่ยอมเสียเปรียบธนาคาร เราจะฝากธนาคารไปทำไมถ้าจะทำให้เงินต้นลดลง..? 
ทางออกของคนก็คือ ถอนเงินมาเก็บใส่ตุ่มซะยังจะดีกว่า ซึ่งถ้าเป็นแบบนั้น เราเห็นกันอยู่แล้วว่าเงินสดจริงๆ ในโลกนี้มีแค่ 10% เมื่อเทียบกับปริมาณเงินฝาก ธนาคารที่ลดดอกเบี้ยจนเข้าขั้นติดลบ จะไม่จูงใจให้คนฝากเงินอีกต่อไป ธนาคารจะเกิดวิกฤติ Bank Run คือคนแห่ถอนเงินออกจากธนาคาร จนเกินกว่าเงินสดที่ธนาคารมีสำรองอยู่จริงและสุดท้ายธนาคารก็จะอยู่ไม่ได้ และจะล้มละลายในที่สุด 
ดังนั้น มีนักคิดหลายคนที่มองเรื่อง cashless society เป็นทฤษฏีสมคบคิดแบบหนึ่ง      (ยกตัวอย่างเช่น Martin Armstrong นักเศรษฐศาสตร์แหกคอกชื่อดังที่ทำนายราคาทองคำในรอบ 5 ปีที่ผ่านมาแม่นเป๊ะยังกับตาเห็น)

Martin Armstrong เชื่อว่า นโยบายดอกเบี้ยติดลบ จะเกิดขึ้นจริงได้ ถ้าล้มระบบ “เงินสด” ในเศรษฐกิจโลกสำเร็จ เมื่อเงินทุกบาททุกสตางค์จะอยู่ในระบบอิเลคโทรนิค คุณจะไม่มีตุ่มให้ซ่อนเงินอีกต่อไป คุณจะไปต่อแถวถอนเงินออกจากธนาคารไม่ได้อีกต่อไป การเก็บภาษีด้วยการลดดอกเบี้ยติดลบ จึงเป็นเรื่องที่ทำได้ง่ายขึ้น 
รัฐคงหวังว่า เมื่อคุณเก็บเงินใส่ตุ่มไม่ได้ คุณจะเริ่มกลัวว่าเงินอิเลคโทรนิคของคุณจะลดค่าลงเรื่อยๆ คุณจะเหลือทางเลือกสุดท้ายคือ “รีบใช้เงินซะ ก่อนที่มันจะหมดค่า” เมื่อประชาชนเริ่มใช้เงิน เมื่อเอกชนเริ่มลงทุน สุดท้าย เศรษฐกิจก็จะฟื้น (ซึ่งย้ำอีกครั้งเป็นครั้งที่ร้อยว่า มันคือความเชื่อที่ผิด)

ไม่มีทางหรอกครับ ที่รัฐจะบังคับประชาชนได้!! 
ถ้าเงินสดถูกยกเลิกจริงๆ ในอนาคต สิ่งที่จะเกิดขึ้นเมื่อประชาชนกลัวดอกเบี้ยติดลบ ก็คือ การโยกย้าย “เงิน” ไปเป็นสินทรัพย์อื่นๆ ที่จะช่วยคงอำนาจซื้อให้คุณได้ในระยะยาว ที่ดิน, ตลาดหุ้น, ทองคำ, (เว้นก็แต่พันธบัตรรัฐบาล เพราะมันก็จะติดลบตามดอกเบี้ย) สินทรัพย์ต่างๆ ที่เป็นแหล่งพักเงินได้ก็จะเริ่มเฟ้อ และมีราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดฟองสบู่  
ลองคิดกันดีๆ นะครับ ไอ้เจ้า negative interest rates economy นี่คือระบบเศรษฐกิจใหม่ที่จะคิด “ภาษีจากเวลา (tax on time)” ของคุณ ยิ่งเวลาผ่านไปนาน เงินคุณจะยิ่งลดน้อยลงเรื่อยๆ มันเป็นกรรมสองชั้นจากภาวะเงินเฟ้อ คือในยุคข้างหน้า นอกจากของจะแพงขึ้นเรื่อยๆ แล้วเงินเก็บของคุณจะค่อยๆ ลดจำนวนลงเรื่อยๆ

ระยะยาวรัฐบาลพยายามรีดภาษีจากประชาชนมากขึ้นในทุกวิถีทางครับ 


Income Tax หรือ “ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (tax on income) นั่นคือ เมื่อคุณมีรายได้ คุณจะต้องแบ่งส่วนหนึ่งของรายได้ที่คุณหามาได้ให้กับรัฐบาล เฉพาะคนที่มีรายได้เท่านั้นที่จะเสียภาษีตรงนี้ 

VAT ก็คือ “ภาษีจากการบริโภค (tax on consumption) ทุกครั้งที่คุณควักกระเป๋าใช้จ่าย รัฐบาลจะดึงเงินส่วนนึงไปจากคุณ (VAT นี้โหดกว่าภาษีบุคคลธรรมดาอีก เพราะมันเก็บกับทุกคนที่มีรายจ่าย โดยไม่สนใจว่าเค้าจะมีรายได้หรือไม่ เด็ก 5 ขวบซื้อไอติมก็ไม่เว้น) 

QE ก็คือ “ภาษีจากการมีเงิน (tax on money)” ใครก็ตามที่มีเงินในกระเป๋า เงินของคุณจะเจือจางลงจากปริมาณเงินที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าคุณจะบริโภคหรือไม่ มีงานทำหรือไม่ (อันนี้โหดกว่า VAT เพราะ แม้แต่เด็ก 5 ขวบที่มีเงินในกระเป๋า แม้ไม่ซื้อไอติม เก็บเงินไว้เฉยๆ ก็จะโดนภาษีจาก QE) 
และเมื่อคนยังไม่ยอมไม่ใช้เงิน Negative interest rates จึงเกิดขึ้น ซึ่งมันก็คือ “ภาษีจากเวลา (tax on time)ใครก็ตามที่ถือเงินไว้นานๆ เงินคุณจะลดลงจากดอกเบี้ยที่ติดลบ (อันนี้โหดกว่า QE เพราะนอกจากมูลค่าของเงินจะจะเจือจางลงจาก QE แล้ว จำนวนเงินก็ยังลดลงจากอัตราดอกเบี้ยติดลบอีกด้วย) 
นี่คือหนทางที่ระบบเศรษฐกิจโลกกำลังก้าวเดินไปหลังจากนี้ รัฐบาลประเทศมหาอำนาจยังคงพิมพ์เงินปริมาณมหาศาลเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจโลก, เริ่มเก็บภาษีจากการเก็บเงินของคุณ, บีบบังคับห้ามไม่ให้คุณเก็บเงินไว้ที่อื่นที่รัฐควบคุมไม่ได้ (ในตุ่ม)
เมื่อประชาชนไม่เชื่อฟัง โยกเงินไปซื้อทองคำ โยกไปซื้อหุ้น โยกเงินไปซื้อที่ดิน รัฐบาลก็จะตามไล่ล่าคุณอย่างไม่ลดละ 
ในอนาคตอาจจะมีการออกกฏห้ามอีกหลายอย่างเช่น ห้ามการถือครองทองคำ (อย่าขำไปนะครับ ปี 1933 รัฐบาลสหรัฐในยุคประธานาธิปดีรูสเวลท์ เคยออกกฏหมายห้ามการถือครองทองคำมาแล้ว), แร่เงิน, ขูดรีดภาษีเพิ่มขึ้นจากที่ดิน (ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่มีข้อเสียสำคัญคือ มันเคลื่อนที่ไม่ได้ อยู่ตรงนั้นให้รัฐรีดภาษีได้อย่างง่ายดาย) 
อนาคตที่เรากำลังจะต้องเจอครับ สภาวะเงินฝืดขั้นรุนแรงจากความกลัวของคน แต่มีการบวมพองของสินทรัพย์บางประเภทจากการโยกย้าย “เงิน” ไม่ว่าจะเป็นตลาดหุ้น ทองคำ และอสังหาริมทรัพย์ ตามด้วยการถูกตามล่าเงินของประชาชนจากรัฐบาลของพวกเค้าเอง 
PS. นี่เป็นอีกเหตุผลที่ผมเชื่อว่า cryptocurency เป็นนวัตกรรมการเงินแบบ Cashless Society ที่ยอดเยี่ยม แต่สุดท้ายมันจะไม่รอดพ้นเงื้อมมือการไล่ล่าของรัฐบาลได้ (ยังไงก็ยังจะเชียร์นะ)
credit:https://www.finnomena.com/ran/cashless-society-conspiracy-theory/ http://i2.cdn.turner.com/cnn/2014/images/07/02/cashless_society.infographic.jpg https://i.ytimg.com/vi/nRwDrNwN27w/hqdefault.jpg https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEg9jgFplmymPi4Z770lIOUIDxWSIkSmOmLg05MpwxbAyPPpbvmq_hzNaDz9TfaVW09Q__-ILFtwDSyMrZQNMHTkGJJdzRknddDMLkLx7-62fH5_PzSNpsj6zD7xnibKGV4IiaThLhp9ow8/s1600/Problems-with-a-cashless-society.jpg 

ยุคของสังคมไร้เงินสด (Cashless Society)

ขอคั้นเรื่องข้อมูลBitcoin ไว้ก่อน เพราะขอแทรกด้วยเรื่อง ยุคสังคมไร้เงินสด ซึ่งเหมือนจะเป็นคนละเรื่อง แต่สุดท้ายเรื่องพวกนี้ จะหลอมรวมกลายมาเป็นเรื่องเดียวกันในอีกไม่นาน

ยุคของสังคมไร้เงินสด (Cashless Society)

ยุคของสังคมไร้เงินสด (Cashless Society)
ระบบการชำระเงินของโลกทุกวันนี้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก และมุ่งหน้าไปในทิศทางเดียวกัน คือ การมุ่งไปใช้ e-Payment หรือบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์แทนเงินสดกันมากขึ้น ทุกวันนี้เราสามารถมองเห็นการเปลี่ยนแปลงและการขยายตัวของมันในชีวิตประจำวัน ไม่เฉพาะแค่ในกลุ่มของนักท่องเที่ยวเท่านั้น เพียงแค่เดินเข้าร้านสะดวกซื้อ ห้างสรรพสินค้า หรือร้านอาหารดัง ๆ ก็จะเห็นป้ายสีฟ้า ๆ แปะอยู่ในหลาย ๆ สถานที่ นั่นคือ ป้ายของ Alipay นอกเหนือจาก Alipay แล้วก็ยังมีเจ้าอื่น ๆ ที่ให้บริการในเรื่องนี้อีกเหมือนกัน อย่างเช่นกลุ่มที่ให้บริการ e-Money ในไทย ไม่ว่าจะเป็น m-Pay, True Money, และ Rabbit เป็นต้น
01-alipay
รูปที่ 1 การทำธุรกรรมนอกประเทศผ่านการใช้ Alipayที่มา: Alipay และ China Daily  
แต่ที่เน้น Alipay เนื่องจากว่า เราสามารถมองเห็นเทรนด์และการเปลี่ยนแปลงได้ชัดว่าปริมาณการทำธุรกรรมทางการเงินผ่าน Alipay มันมีการขยายตัวขึ้นอย่างมาก ในปี 2016 มูลค่าของการทำธุรกรรมขยายตัว 710% เมื่อเทียบ และถ้าสังเกตก็จะเห็นว่า Alipay บุกเข้าไปในประเทศที่เป็น Top Destination ของนักท่องเที่ยวจีน ในบางประเทศ นักท่องเที่ยวยังสามารถขอคืนภาษีได้ หากซื้อของกับบริษัทที่เข้าร่วม Tax Refund กับ Alipay ในจำนวนเงินตามที่เงื่อนไขกำหนด 
นอกจากนี้แล้วยังมี Amazon Go Cashless Shopping Store ที่เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อปลายปีก่อน และได้ตอบเสียงตอบรับจนเป็นที่ฮือฮามาก เนื่องจากว่าเป็นร้านสะดวกซื้อที่ไม่มีแคชเชียร์ เพียงแค่เข้าไปในร้าน หยิบของใส่ถุง แล้วเดินออกจากร้านได้เลย แล้วระบบจะหักเงินอัตโนมัติจากบัญชี Amazon ที่ลูกค้าได้เปิดบัญชีจ่ายเงินไว้
02-amazon
รูปที่ 2 กระบวนการการทำงานของ Amazon Goที่มา: http://www.softwareadvice.com/resources/amazon-grocery-store/ 
มันจึงนำไปสู่คำถามที่ว่า หากทุกคนเปลี่ยนพฤติกรรมมาใช้จ่ายผ่าน e-Payment และมีความเห็นว่า ในอนาคตไม่จำเป็นที่จะต้องถือเงินสดไว้กับตัวอีกแล้ว มันหมายความว่าอย่างไร? ธุรกิจประเภทไหนจะเกิดความได้เปรียบเสียเปรียบจากพฤติกรรมนี้ ? 
ในที่นี้ ขอตั้งสมมติฐานว่าระบบ e-Payment มีการเก็บข้อมูลต่าง ๆ อย่างปลอดภัย โปร่งใส ยากต่อการโดนแฮค และที่สำคัญ คือ Smart Phone ไม่ได้มีการเสียหาย สูญหาย หรือแบตหมดระหว่างการใช้งาน เพื่อให้เกิดความง่ายต่อการคิดในลำดับถัดไป 
ธุรกิจแรกที่นึกถึง ก็คือ ธุรกิจค้าปลีก
ปัจจุบันร้านสะดวกซื้อหลายเจ้าคงเจอปัญหาตอนที่ทำสรุปยอดเงินรายวันแล้วพบว่ามีเงินสดไม่ครบตามจำนวนยอดขายที่อยู่ในระบบ ซึ่งอาจจะเกิดจากการทอนเงินผิด หรือมีการแอบยักยอกจากพนักงานเกิดขึ้น ในอนาคต ปัญหาส่วนนี้จะถูกแก้ไขให้หมดไปได้ นอกจากจะได้จำนวนเงินครบแล้ว ร้านสะดวกซื้อเหล่านี้ ยังสามารถทราบถึงพฤติกรรมของลูกค้าที่เข้ามาซื้อของในร้านของตัวเอง และสามารถเห็นได้เลยว่า สินค้าตัวไหนขายดีในช่วงไหนอย่างไร โดยมีความไวในการรับรู้และวิเคราะห์ข้อมูลมากขึ้น เรียกได้ว่ากลุ่มค้าปลีกได้รับผลในแง่ดีจากพฤติกรรมนี้ 
 ธุรกิจที่สอง คือ กลุ่มธนาคาร
สิ่งที่เห็นชัดอย่างหนึ่งก็คือว่า ยอดเงินฝากที่ควรจะอยู่ในบัญชีของธนาคาร บางส่วนจะถูกแบ่งออกไปอยู่ในระบบของกลุ่ม E-Payment ยกตัวอย่างเช่น Tencent บริษัทไอทียักษ์จากจีนเจ้าของแอพ WeChat หลายคนอาจจะทราบแล้วว่า WeChat ไม่ได้เป็นแค่แอพสำหรับพูดคุยเท่านั้น แต่ยังมีฟังก์ชัน WeChat Pay ซึ่งเป็น E-Payment ในการชำระเงินค่าสินค้าและบริการ ผ่านการสแกน QR Code หากมองดูกระแสเงินสดที่อยู่ในมือของ Tencent ก็จะรู้สึกตกใจมาก เพราะเขามีเงินสดในมือมากถึง 5.4 หมื่นล้านหยวน ดูแบบนี้แล้ว ก็เห็นสภาวะการแข่งขันของกลุ่มธนาคาร ที่นับวันมีแต่จะร้อนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ สำหรับประเทศไทยเอง ในตอนนี้ก็เห็นบางธนาคารปรับตัวจับมือกับ Alipay ไปบ้างแล้ว  
และสำคัญที่สุด กลุ่มที่ขาดไม่ได้เลย ก็คือ กลุ่มโทรคมนาคมแบบไร้สาย
ซึ่งเป็นกลไกสำคัญที่ทำให้เกิดการชำระเงินผ่านระบบอินเตอร์เน็ตได้ หากไม่มีอินเตอร์เน็ต สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดในข้างต้นนั้นก็คงจะสูญเปล่า แถมพ่วงด้วยการมาของยุค IoT (Internet of Things) ด้วยแล้ว ก็ยิ่งทำให้มองเห็นแนวโน้มความต้องการใช้บริการในธุรกิจบรอดแบนรด์อินเตอร์เน็ตมากยิ่งขึ้น
อันที่จริงแล้ว ยังมีมุมมองอื่นๆ ให้คิดต่อได้อีกมากและในอีกหลายๆ กลุ่มธุรกิจ ซึ่งก็คงจะทิ้งท้ายไว้ให้ท่านผู้อ่านลองคิดและประเมินต่อดูว่า จะรับมือ จะปรับตัว หรือจะหาผลประโยชน์จากสิ่งต่างๆ เหล่านี้ได้อย่างไร
ความเห็นส่วนตัวคือ ต่อไปทุกๆการใช้จ่ายหรือการเข้าของเงิน รัฐมีสิทธิ์ตรวจสอบที่มาและที่ไปของเงินในบัญชี ซึ่งหลายคนคงไม่พอใจแน่นอน เพราะมันเกี่ยวเนื่องเรื่องของภาษีและสรรพกร
ทางออกของเรื่องเหล่านี้ จึงต้องพึ่ง Cryptocurrency หรือ Bitcoin มาแทนการมีบัญชีในธนาคารพาณิชย์
Credit:https://www.finnomena.com/siriwimon/cashless-society/ 

คุณรู้จักบิทคอยด์ หรือ CryptoCurrency แค่ไหน ตอนที่1

ณ.ราคาปัจจุบัน วันที่ 3 มกราคม 2561 1บิทคอย อยู่ที่  489,173.99 บาท เอง
Bitcoin คืออะไร

Bitcoin อ่านว่าบิทคอยน์ คือสกุลเงินในรูปแบบของดิจิทัล ถูกสร้างขึ้นมาด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ ไม่มีใครเป็นเจ้าของ Bitcoin ไม่มีรูปร่างและไม่สามารถจับต้องได้เหมือนธนบัตรหรือเหรียญเงินบาท Bitcoin ถูกสร้างขึ้นมาด้วยกลุ่มนักพัฒนาเล็กๆกลุ่มหนึ่งตลอดจนบริษัทใหญ่ๆทั่วโลก โดยระบบของ Bitcoin ถูกรันโดยคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้งานทั่วโลก โดยใช้ระบบซอฟต์แวร์ในการถอดสมการคณิตศาสตร์
Bitcoin ถือเป็นสกุลเงินแรกของโลกที่ถูกเรียกว่าคริปโตเคอเรนซี (cryptocurrency)


อะไรทำให้ Bitcoin แตกต่างจากสกุลเงินทั่วๆไป
Bitcoin สามารถใช้แทนเงินสดซื้อสินค้าออนไลน์ อาจคล้ายกับระบบซื้อขายผ่านอินเทอร์เนตทั่วๆไปที่ใช้บัตรเดบิตหรือบัตรเครดิต
อย่างไรก็ตาม ความพิเศษของ Bitcoin ที่เป็นตัวช่วยให้มันเป็นที่นิยมคือมันถูกควบคุมแบบกระจาย (decentralize) กล่าวคือไม่มีสถาบันการเงินไหนสามารถควบคุมบิมคอยได้ ซึ่งนั่นทำให้ผู้คนที่เลือกใช้ Bitcoin ส่วนใหญ่สบายใจเนื่องจากแม้แต่ธนาคารก็ไม่สามารถควบคุม Bitcoin ได้
ใครเป็นคนสร้าง Bitcoin
นักพัฒนาด้านซอฟต์แวร์ผู้ใช้นามแฝงว่าซาโตชิ นาคาโมโตะเป็นผู้พัฒนา Bitcoin ขึ้นมาซึ่งเป็นระบบจ่ายเงินที่อ้างอิงอยู่บนการถอดสมการคณิตศาสตร์ โดยจุดประสงค์ของเขาคือการสร้างสกุลเงินที่เป็นอิสระจากรัฐบาลและธนาคาร, สามารถส่งหากันผ่านระบบอินเทอร์เนตและมีค่าธรรมเนียมที่ถูกมากๆ
ใครพิมพ์ Bitcoin
ไม่มีใครสามารถพิมพ์ Bitcoin ได้ เพราะมันเป็นสกุลเงินที่ไม่สามารถจับต้องได้เหมือนกับธนบัตรที่ถูกพิมพ์โดยรัฐบาล, ไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมาให้สอดคล้องกับจำนวนประชากร และมันมีกฏเกณฑ์ในตัวของมันเอง ในขณะที่ธนาคารกลางบางประเทศสามารถที่จะพิมพ์เงินได้เองเพื่อกู้วิกฤติหนี้แห่งชาติ หรือประกาศอ่อนค่าเงินของตัวเอง
แต่ Bitcoin ถูกสร้างขึ้นโดยเป็นเหมือนกับไฟล์คอมพิวเตอร์ โดยกลุ่มนักพัฒนาอิสระที่ใครๆก็สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมได้ การจะผลิต Bitcoin ขึ้นมาได้นั้นต้องใช้วิธีการ “ขุด” โดยการใช้คอมพิวเตอร์ที่ตั้งอยู่บนเครือข่ายที่จัดวางไว้ให้เท่านั้น
โดยเครือข่ายนี้ยังสามารถที่จะใช้เพื่อช่วยในการจัดการการโอนส่ง Bitcoin ให้กันได้ ซึ่งหากจะเรียกแล้ว มันก็คือเครือข่ายส่วนตัวของ Bitcoin นั่นเอง
ถ้างั้น Bitcoin ก็สามารถถูกสร้างขึ้นมาแบบมีจำกัดใช่หรือไม่
ใช่แล้ว ด้วยการมีอยู่ของระบบ Bitcoin โพรโตคอล ซึ่งเปรียบเสมือนกับผู้คุมกฏแห่งเครือข่าย Bitcoin ได้กล่าวไว้ว่า Bitcoin จะสามารถที่จะถูกผลิตขึ้นมาได้เพียงแค่ 21 ล้าน Bitcoin เท่านั้น อย่างไรก็ตาม เจ้า Bitcoin พวกนี้สามารถที่จะถูกแบ่งออกเป็นจำนวนย่อยๆได้ (โดยหน่วยที่เล็กที่สุดของ Bitcoin คิดเป็นหนึ่งร้อยล้านต่อ 1 Bitcoin โดยหน่วยนี้ถูกเรียกว่า “ซาโตชิ” เพื่อเป็นเกียรติให้กับผู้สร้าง Bitcoin )
ราคา Bitcoin ถูกอ้างอิงจากอะไรหน่วยเงินที่เราคุ้นเคยกันดีนั้นมักจะถูกนำมาผูกติดกับราคาของทองหรือเงิน โดนทฤษฎีแล้ว ถ้าคุณเดินไปซื้อทองที่ร้านทองด้วยเงินบาท คุณก็จะได้ทองกลับบ้าน แต่ในขณะเดียวกัน Bitcoin นั้นไม่ได้ถูกอ้างอิงกับทอง แต่ถูกอ้างอิงด้วยสมการทางคณิตศาสตร์ผู้คนทั่วโลกกำลังใช้ซอต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ช่วยในการถอดสมการทางคณิตศาสตร์เพื่อผลิต Bitcoin โดยสูตรทางคณิตศาสตร์เหล่านี้มีอยู่ให้หาได้แบบไม่คิดเงิน ทำให้แม้แต่คุณก็สามารถเข้าไปตรวจเช็คได้แบบฟรีๆโดยซฟอต์แวร์ที่ว่านั้นเป็นระบบ open source แปลว่าทุกคนสามารถที่จะตรวจสอบความโปร่งใสได้หากนึกถึง Bitcoin ควรจะนึกถึงอะไรBitcoin มีความพิเศษในตัวมันเองที่ทำให้แม้แต่ค่าเงินของรัฐบาลก็ไม่อาจเลียนแบบได้
  1. มันใช้เทคโนโลยีการกระจาย เครือข่ายของ Bitcoin ไม่ได้ถูกควบคุมโดยศูนย์กลางที่ไหนหรือใครคนใดคนหนึ่ง เครื่องขุด Bitcoin ทุกๆเครื่องมีส่วนช่วยในการทำธุรกรรมในการจ่ายเงินของ Bitcoin และเครื่องขุดเหล่านี้ทำงานด้วยกันทั่วโลก ซึ่งแปลว่าในทางทฏษฎีแล้ว ทางรัฐบาลหรือผู้มีอำนาจไม่สามารถที่จะเข้ามายึดหรือสั่งทำลายเครื่องขุด Bitcoin เพียงแค่เครื่องใดเครื่องหนึ่งเพื่อหวังให้ระบบเครือข่ายของ Bitcoin ล่มสลายได้ หรือแม้แต่พยายามที่จะยึดเอา Bitcoin มาเป็นของตัวเองแบบที่ธนาคารกลางแห่งยุโรปเคยพยายามลองทำ มาแล้วที่ Cyprus ในปี 2013 แต่ก็ล้มเหลว ประเด็นคือถ้าอยากจะทำลาย Bitcoin ให้หมดไปจากโลกนี้ ทางรัฐบาลอาจต้องไล่ทำลายเครื่องขุด Bitcoin ที่มีกระจายไปอยู่ทั่วโลกนั่นเอง 
  • มันง่ายต่อการติดตั้ง ธนาคารส่วนใหญ่มักจะพยายามหลอกล่อและเชิญให้คุณมาเปิดบัญชีธนาคารที่มีขั้นตอนการเปิดที่ยุ่งยาก ลืมเรื่องการเปิดบัญชีธนาคารเพื่อการค้าขายแบบง่ายๆไปได้เลย ในขณะเดียวกันการเปิดใช้งานกระเป๋า Bitcoin สามารถที่จะทำได้ให้เสร็จได้ง่ายในระดับวินาที ไม่มีคำถามมาถามให้กวนใจ และไม่มีค่าธรรมเนียมใดๆทั้งสิ้น
  • มันไร้ตัวตน ซึ่งก็ใช่ เนื่องจากผู้ใช้งานสามารถที่จะถือบัญชี Bitcoin ได้ทีละหลายๆบัญชี และบัญชีเหล่านั้นก็ไม่ได้มีชื่อหรือข้อมูลส่วนตัวของคุณมาเชื่อมกับมัน แต่ทว่า…
  • มันโปร่งใสแบบ 100% รายละเอียดการเก็บ Bitcoin นั้นละเอียดในระดับถึงขั้นที่สามารถตรวจจับไปจนถึงการโอนครั้งแรกตั้งแต่มี Bitcoin มาเลยทีเดียว โดยสมุดบัญชีการโอนของ Bitcoin นั้นเราจะเรียกมันว่าบล็อกเชน (Blockchain) โดยบล็อกเชนที่ว่านี้จะเปรียบเสมือนสมุดบัญชีธนาคารกลางที่สามารถบอกการเคลื่อนไหวของบัญชี Bitcoin ทั่วโลกถ้าหากคุณมีบัญชี Bitcoin ที่เคยใช้ส่งหรือรับ Bitcoin ละก็ ทุกคนสามารถที่จะเข้ามาตรวจได้ว่าแต่ละบัญชีเคยมีการเคลื่อนไหวของจำนวน Bitcoin เข้าออกมาแล้วกี่ Bitcoin แต่พวกเขาไม่สามารถที่จะรู้ได้ว่าอันไหนเป็นของคุณมีเทคนิคที่ผู้ใช้ Bitcoin บางคนนำมาแนะเพื่อเพิ่มความไร้ตัวตนให้คุณด้วยการไม่ใช้กระเป๋าเงิน Bitcoin ใบเดียวตลอดหลายๆครั้ง และการโอน Bitcoin ไปทีละเยอะๆกระจายๆไปทีละหลายๆกระเป๋า
  • ค่าธรรมเนียมที่ต่ำติดดิน ธนาคารอาจจะคิดค่าธรรมเนียมในการโอนเงินกับคุณประมาณ 35-500 บาท แต่ Bitcoin ไม่
  • การโอนที่รวดเร็วมาก คุณสามารถที่จะส่ง Bitcoin ไปหาใครก็ได้บนโลกนี้โดย Bitcoin ที่คุณส่งข้ามโลกไปหาอีกคนนั้น จะไปปรากฏที่กระเป๋าเงินของเขาในระดับนาที
  • เรียกคืนไม่ได้ เมื่อ Bitcoin ของคุณถูกส่งออกไปนั้น มันจะไม่มีวันกลับมาหาคุณอีก หรือนอกจากผู้ได้รับจะส่งมันกลับคืนมาหาคุณ

สรุปคือ Bitcoin นั้นมีข้อดีที่มากอยู่พอสมควรในทางทฤษฎี แต่มันทำงานอย่างไรล่ะ ลองอ่านบทความนี้ดู เกี่ยวกับวิธีการที่ Bitcoin ถูกสร้างขึ้น และจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อมีการส่ง Bitcoin กันเกิดขึ้นรวมไปถึงวิธีที่เครือข่าย Bitcoin ทำงาน 
สถานที่ๆคุณสามารถซื้อ Bitcoin ได้ในไทยปัจจุบัน ตลาดการแลกเปลี่ยน Bitcoin ในประเทศไทยเริ่มบูมมากขึ้น และมีผู้ให้บริการหลายๆที่เปิดตัวกันมามากขึ้น ทำให้ตัวเลือกสำหรับผู้บริโภคนั้นก็มีเยอะขึ้นตาม ทางสยามบล็อกเชนได้วิเคราะห์ประเภทของเว็บแลกเปลี่ยน Bitcoin ในประเทศไทย และวิธีการเลือกดูผู้ให้บริการซื้อขาย Bitcoin ในไทยแบบครบถ้วน ที่นี่
ตอนต่อไป จะหยิบ เรื่องหลอกลวงที่เอา BITCOIN มาเป็นตัวละครเอก ที่หลายคนอาจจะเคยเจอมาบ้างแล้ว 

source:
https://siamblockchain.com/bitcoin-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD-%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/
https://www.bitcoin.com/wp-content/uploads/2017/08/ver-economic-code-bitcoin-cash-story.jpg
https://blockgeeks-assets.scdn7.secure.raxcdn.com/wp-content/uploads/2016/11/image-1-1024x936.png