C L I C K

Wednesday 2 March 2016

วัฒนธรรมองค์กร หรือ กรรมกรที่มีองค์การ


มันเป็นเรื่องที่พบเจอมากมายในที่ทำงาน
หากคุณเป็นมนุษย์เงินเดือน กับการที่คุณจะมีหัวหน้า หรือ คนที่อยู่ในระดับเดียวกับคุณ ที่ทำงานแบบถวายหัว ถวายตัวให้องค์กร เหมือนชาติที่แล้วเขาเหล่านั้น เป็นหนี้บุญคุณกับที่ทำงานอย่างมหาศาล

เอาจริงๆนะ ผมเคยเจอคนประเภทที่ทำงานแบบงานต้องเสร็จ เร่งทุกอย่าง ยุ่งทุกเมื่อเชื่อวัน
ในความเห็นของผม องค์กรใดๆ ที่ทำงานด้วยแผนงานที่มีระบบ ระเบียบ มี Workflow ที่ชัดเจน นั้นหมายถึงว่า แต่ละขั้นตอนการทำงาน มีการกำหนดระยะเวลาแล้วว่า ขบวนการต่างๆนั้นมีขั้นตอนที่ชัดเจน ไม่ใช่ว่า งานมากองตรงหน้า แต่ผู้ปฎิบัติการ กลับนั่งเล่นเกม แช็ทแล้วก็ค่อยมาทำหลังเลิกเวลางาน เพื่อจะได้ OT

แหมะ แบบนี้ คนอื่นๆ ก็ไม่ต้องกลับบ้านนะสิ!!!
ต้องมานั่งรอคุณทำงานคนเดียว ถามว่ามันใช่เรื่องไหม
การแก้ไขการทำงานแบบเช้าชามเย็นชาม นั้นอยู่ที่นโยบายในระดับบริหาร ไล่ลงมายังฝ่ายปฎิบัติการณ์ หากยังให้ทำงานกันกลับบ้าน สามสี่ทุ่มทุกวัน เชื่อได้เลยว่า ประสิทธิ์ภาพการทำงานในระยะกลางถึงยาวของพนักงานนั้นๆ ก็จะลดลงไปเรื่อยๆ
สาเหตุที่แก้ไขไม่ได้ เพราะ บุคลากรในองค์กรนั้น                มีคนสองจำพวก

พวกแรกคือคนที่อยู่กับระบบมานาน พอมีการจะเปลี่ยนแปลงจากคนที่มองเห็นปัญหา คนเหล่านี้จะมีเงื่อนไข ตั้งแง่ และพยามไม่เปลี่ยนแปลง ซึงถือว่าเป็นตัวปัญหาขององค์กร
พวกที่สอง คือ คนที่เห็นปัญหา พยามจะแก้ มีแนวทางชัดเจน แต่จะถูกคนจำพวกแรก ตั้งคำถามว่า ทำไปทำไม ที่ทำอยู่ก็ดีอยู่แล้ว ยุ่งยาก เยอะ (ล้วนมีคำกล่าวอ้างตลอด) 
สิ่งที่ตามมาคือ คนจำพวกที่สองนี้ ไม่ลาออกจากองค์กรไป ก็ต้องถูกองค์กรกลืนกินไปกับวัฒนธรรมนั้นๆ ผมมองดูแล้วองค์กรบางองค์กรสูญเสียทรัพยากรดีๆไป เพราะด้วยเหตุผลทำนองนี้ไม่ใช่น้อย ถามว่าองค์กรของคุณสูญเสียบุคคลกรกันไปเท่าไหร่กับคนจำพวกแรกที่กล่าวคำว่า 
ก็ที่นี้เป็นแบบนี้, วัฒนธรรมที่นี้เป็นแบบนี้ , เราเป็นแบบนี้มาตั้งนานแล้วเธอจะมาเปลี่ยนปุ๊ปปั๊ปได้อย่างไร 

ครับ ใช่ คุณพูดถูก ว่าที่นี้เป็นแบบนี้ แล้วถามว่าที่ทำอยู่ มันมีประสิทธิ์ภาพ มีผลงานที่ดีขึ้นไหม? ถ้าให้วัด KPI กัน ถามว่ามันดีขึ้น หรือแย่ลง
อย่าวัดที่อัตราการเติบโตของยอดขาย แต่ให้ดูถึงความพึ่งพอใจของลูกค้า คู่ค้า และประสิทธิ์ภาพการทำงานของผู้ปฎิบัติการ ซึ่งถ้าเปรียบเทียบย้อนหลัง บอกได้เลยครับว่า   ยิ่งดิ่งลงเหว แย่ลงเรื่อยๆ

วิธีการจัดการปัญหาการทำงานเกินเวลา และให้ทำงานในเวลาการทำงาน คือการสั่งการนโยบายที่มีรูปธรรม ให้กำหนดขอบเขตการทำงานให้เสร็จในกรอบเวลา เพราะคนเราทำงานวันละไม่เกิน 10 ชั่วโมง หากมากกว่านั้น ร่างกายจะบอบช้ำและอ่อนล้าเกินไป
อย่างต่อมา พัฒนาบุคคลากร ทั้งในการบริหารเวลา การบริหารงาน และการพัฒนาทักษะในมิติต่างๆ
ผมยังไม่ได้พูดถึง ผู้บริหารที่ต้องพัฒนาทั้งในด้านของ EQ ด้วยนะครับ บางองค์กรมีบุคคลากรที่ฉุนเฉียว เกรียวกราด ซึ่งบอกได้เลยว่า ผู้ร่วมงานด้วยนั้น ไม่มีความสุขกับการทำงานและมันทำให้อารมณ์ของผู้ร่วมงานปนเปื้อนความขุ่นเคืองเหล่านั้นไปด้วย และส่งผลไปยังประสิทธิ์ภาพการทำงานในเชิงคุณภาพอีกด้วย
สรุปแล้วยิ่งทำงานนานๆ แล้วคุณไม่ปรับ ไม่พัฒนา ไม่เห็นปัญหาในองค์กร คุณก็จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมเก่าๆ ที่โลกกำลังจะกลืนกิน 
ขอให้คุณปรับเปลี่ยนเถอะครับ ปรับทั้งตัวคุณ องค์กรของคุณ เปิดใจ ยอมรับเถอะครับ ว่าโลกมันหมุนตลอดเวลา คุณให้โลกมารอคุณไม่ได้หรอก คุณนั้นแหละคือคนที่ต้องวิ่งเร็วกว่าโลก และสังคม สำหรับคุณที่ยังอยู่ในแวดล้อมที่ไม่ยอมเปลี่ยนแปลง หรือ ไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงใดๆ พิจารณาความสามารถตัวคุณเองเถอะครับ หากคุณทำดีที่สุดแล้ว หากทำอย่างเต็มความสามารถแล้ว แต่ไม่มีอะไรดีขึ้น 
ในตอนต่อไป ผมจะช่วยคุณหาทางออก กับปัญหาที่เกิดขึ้น ติดตามกันนะครับ 
credit: 
 https://cdn.lynda.com/course/363226/363226-636356422940873530-16x9.jpg
https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTllI5MdviTeW5mpCjfOzVl72LDnmLPE_Riqg3JccRzICuNrQnK
https://images.pexels.com/photos/872957/pexels-photo-872957.jpeg?auto=compress&cs=tinysrgb&dpr=1&w=500



No comments:

Post a Comment