C L I C K

Saturday, 26 November 2016

คนไทยแชร์จนไร้สติ

ที่เรียกว่าคนไทยแชร์จนไร้สติ ส่งต่อข้อมุล ข้อความกันจนไม่ได้ตรวจสอบว่า
เรื่องราวที่ได้อ่านมา จริงหรือ ไม่จริง
 
นักการตลาดบางประเภท สร้างViral marketing เพื่อให้คนทั่วไปดู แชร์ ส่งต่อ กลายเป็นการทำการตลาดแบบนึง ในช่วงเวลานึงที่ได้รับความนิยม แต่มันเป็นเรื่องไม่จริง หวังประโยชน์ทางการค้า และเป็นวิธีที่สุดท้าย ผู้บริโภคก็รู้ว่าตัวเองเป็น"เหยื่อ" ทางการตลาดและกลายเป็น"ไอ้โง่" ในช่วงเวลาต่อมา
ข่าวลือ โดยที่มีสรรพนามว่า "เค้า" เล่าว่า "เค้า"บอกว่า ซึ่งก็ไม่อาจจะหาที่มาว่า "เค้า" คือใคร หรือคือตัวละครสมมติ ที่ไม่มีจริงๆ แต่คนที่สร้างข่าวลวง ก็เพียงหา สรรพนามยกขึ้นมาเท่านั้นเอง 
ในสังคมสมัยนี้ ถ้าคุณเล่น social network คุณจะพบข้อมูลมากมาย บางเรื่องก็เป็นเรื่องจริง บางเรื่องก็ชวนสงสัย บางเรื่องก็ชวนให้คิดและหาคำตอบต่อ ถึงเวลาแล้วที่เราต้อง แยกให้ออกว่า เรื่องอะไรคือเรื่องที่ยังเป็นข้อสงสัย ยังสรุปไม่ได้ หรือเป็นข้อเท็จจริง ไม่จำเป็นต้องส่งต่อ เพราะบางครั้ง เรื่องข้อเท็จจริงก็เป็นเพียง เรื่องที่นำไปสู่เรื่องการตลาด ของนักการตลาดที่หวังผลให้คุณเป็นผึ้ง ที่เอาเกสร ไปส่งต่อยังพืชต้นอื่นๆ
แล้วจะทำยังไงดี 
ขอยกเอาหลัก กาลามสูตร คือ พระสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ชาวกาลามะ หมู่บ้านเกสปุตตนิคม แคว้นโกศล (เรียกอีกอย่างว่า เกสปุตตสูตร ก็มี) กาลามสูตรเป็นหลักแห่งความเชื่อที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้ให้แก่พุทธศาสนิกชน ไม่ให้เชื่อสิ่งใด ๆ อย่างงมงายโดยไม่ใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นจริงถึงคุณโทษหรือดีไม่ดีก่อนเชื่อ มีอยู่ 10 ประการ ได้แก่
  1. มา อนุสฺสวเนน - อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามๆ กันมา
  2. มา ปรมฺปราย - อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสืบๆ กันมา
  3. มา อิติกิราย - อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ
  4. มา ปิฏกสมฺปทาเนน - อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์
  5. มา ตกฺกเหตุ - อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเดาว่าเป็นเหตุผลกัน
  6. มา นยเหตุ - อย่าปลงใจเชื่อ เพราะการอนุมานคาดคะเน
  7. มา อาการปริวิตกฺเกน - อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเดาจากอาการที่เห็น
  8. มา ทิฎฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา - อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีที่                   พินิจไว้แล้ว
  9. มา ภพฺพรูปตา - อย่าปลงใจเชื่อ เพราะผู้พูดมีลักษณะน่าเชื่อถือ
  10. มา สมโณ โน ครูติ - อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้ เป็นครู           ของเรา
เมื่อใดสอบสวนจนรู้ได้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านั้นเป็นอกุศลหรือมีโทษเมื่อนั้นพึงละเสีย และเมื่อใดสอบสวนจนรู้ได้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านั้นเป็นกุศลหรือไม่มีโทษ เมื่อนั้นพึงถือปฏิบัติ
ตามหลักกาลามสูตร จะว่าไปแล้ว ก็ควรจะเป็นทฤษฎีว่าด้วยตรรกะ บางสิ่งไม่จำเป็นต้องเชื่อเพียงเพราะได้ยินเขามา มันคือเรื่องที่เล่าสืบกันมา การเดา การอนุมาน หรือเดี๋ยวนี้เรียกว่า มโน กันไปเอง ก็มี
ดังนั้นการฟังหูไว้หู อาจจะเป็นทางออกที่ดี แต่การแชร์ไปทั้งๆที่เรื่องนั้น อาจจะเป็นภัยต่อคนที่ถูกส่งต่อ มีคำนิยามว่า Cyber Bully ซึงเรื่องนี้ อยากให้ชม เรื่องนึงที่ทาง  Dtac เคยทำไว้ 2 แบบ 
หรือคุณจะเลือกเป็นแบบที่สอง
เราเลือกที่จะเป็นผู้ดู หรือผู้ส่งต่อ จะเป็นผู้หยุด หรือผู้สานต่อ ไม่จำเป็นทุกเรื่องที่เรา่ผ่านตา เราจะต้องส่งต่อ ลองพิจารณาดูนะครับ ถ้าคุณส่งต่อข้อมูลเท็จ ยิ่งมันเท็จมากเท่าไหร่ ความน่าเชื่อถือของตัวคุณ ต่อสายตาคนอื่นๆ ในSocial network คุณก็คงไม่ต่างจากเด็กเลี้ยงแกะในนิทานอีสป
กาลครั้งหนึ่ง สมัยเมื่อเกือบ 60-70 ปีที่แล้ว มีคนตะโกนในโรงภาพยนตร์ ว่าคนๆนึงทำการลอบปลงพระชนม์ฯ ผมมองว่านั้นคือจุดเริ่มต้นของการทำ Viral rumor คำถามที่ผมยังคิดเสมอคือเขาต้องการปล่อยข้อมูล เพื่อหวังผล สร้างจิตวิทยา ปั่นประสาท ฯลฯ
สุดท้ายแล้ว...เราควรพิจารณาข้อมูล ทุกครั้งไม่ว่ามันจะคือข้อมูลอะไร คุณอาจจะเป็นผู้ช่วย หรือ อาจจะเป็นผู้ร่วมทำลายก็เป็นได้ หรือสุดท้าย คุณก็คือ คนโง่ ที่ชอบแชร์..ในสายตาคนอื่น




Reference:https://th.wikipedia.org/wiki/กาลามสูตร

No comments:

Post a Comment