องค์ประกอบเพิ่มเติมของการสื่อสาร
สิ่งรบกวนสิ่งรบกวน (noise) คือ สิ่งจำกัดประสิทธิภาพการถ่ายทอดสารหรือสิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการสื่อสาร ทำให้การสื่อสารไม่บรรลุผลเท่าที่ควร หรือบางครั้งอาจทำให้การสื่อสารไม่สามารถดำเนินต่อไปได้
มีการแบ่งประเภทของสิ่งรบกวนหลายวิธีด้วยกัน เช่น แชนนอนและวีเวอร์ (Shannon and Weaver) แบ่งสิ่งรบกวนเป็น
1. สิ่งรบกวนทางกายภาพ (physical noise) หมายถึง สิ่งรบกวนซึ่งเกิดขึ้นภายนอกตัวบุคคล เช่น เสียงรถยนต์ เสียงคนคุยกัน เสียงประตู ฯลฯ
2. สิ่งรบกวนทางจิตใจ (psychological noise) หมายถึง สิ่งรบกวนซึ่งเกิดขึ้นภายในตัวบุคคล ภายในความคิด จิตใจ และอารมณ์ของผู้สื่อสาร เช่น ผู้พูดมีอคติต่อเรื่อง มีปัญหาในใจก่อนการพูด หรืออารมณ์ไม่ดี หรือผู้ฟังขาดสมาธิในการฟัง เป็นต้น
อุปสรรคและการแก้ไขอุปสรรคการฟัง
ไทยากิ (Tyagi. 2013 : 6-7) ได้กล่าวถึงอุปสรรคการฟังว่า การฟังนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายและมีอุปสรรคที่ขัดขวางไม่ให้การฟังประสบความสำเร็จ ซึ่งมีอยู่หลายข้อด้วยกัน ดังนี้
1. อุปสรรคทางชีวภาพ (Physiological Barriers) คือ ปัญหาหรือความบกพร่อง เกี่ยวกับการได้ยิน ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการฟังอย่างถูกต้อง โดยอุปสรรคนั้นสามารถบำบัดได้ แต่ก็อาจมีปัญหาในการจดจำข้อมูลต่าง ๆ
2. อุปสรรคทางกายภาพ (Physical Barriers) คือ อุปสรรคที่เกี่ยวกับสิ่งรบกวนภายนอก เช่น เสียงของเครื่องปรับอากาศ ควันบุหรี่หรือห้องที่ร้อนเกินไป ซึ่งสามารถรบกวนกระบวนการฟังได้
3. อุปสรรคทางทัศนคติ (Attitudinal Barriers) คือ การเชื่อว่าตัวเองนั้นมีความรู้มากกว่าผู้พูดหรือคิดว่าไม่มีสิ่งแปลกใหม่ให้เรียนรู้จากความคิดของผู้พูด บุคคลที่มีทัศนคติแคบแบบนี้มักจะเป็นผู้ฟังที่ไม่มีคุณภาพ
4. สมมติฐานที่ผิดพลาด (Wrong Assumptions) คือ การประสบผลสำเร็จของการติดต่อสื่อสารขึ้นอยู่กับทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสารซึ่งเป็นสิ่งที่ผิดในการคิดว่า การติดต่อสื่อสารเป็น หน้าที่ของผู้ส่งสารหรือผู้พูด และผู้ฟังนั้นไม่ได้มีบทบาทในการสื่อสารเลย ตัวอย่างเช่น การพูด หรือการนำเสนอที่โดดเด่นนั้น ถึงแม้ว่าจะเป็นการพูดที่ยอดเยี่ยมก็จะเปล่าประโยชน์หากผู้รับสารไม่ฟังจนจบ กระบวนการนี้จะสำเร็จได้โดยการตั้งใจฟังและมีการตอบสนองกับผู้พูด
5. อุปสรรคทางวัฒนธรรม (Cultural Barriers) คือ สำเนียงสามารถเป็นอุปสรรคในการฟังได้เพราะการออกเสียงต่างกันอาจทำให้ความหมายของคำเปลี่ยนไปจากเดิม ปัญหาของสำเนียงที่มีความแตกต่างนี้ไม่ได้เกิดขึ้นระหว่างวัฒนธรรมเท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นภายในตัววัฒนธรรมเองตัวอย่าง เช่น ในประเทศอินเดียที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ซึ่งแต่ละภูมิภาคจะมีสำเนียงที่แตกต่างกันไป
6. อุปสรรคทางเพศ (Gender Barriers) คือ งานวิจัยที่เกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารได้แสดงให้เห็นว่า เพศสามารถเป็นอุปสรรคต่อการฟัง จากผลการศึกษานั้นปรากฏว่า ทั้งผู้ชายและผู้หญิงมีการฟังที่แตกต่างกันเป็นอย่างมากและมีจุดประสงค์ในการฟังที่แตกต่างกันอีกด้วย โดยผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะฟังคำพูดที่ซ่อนไว้ด้วยอารมณ์ของผู้พูด ในขณะที่ผู้ชายจะฟังเกี่ยวกับข้อเท็จจริงและเนื้อหามากกว่า
7. การขาดการฝึกฝน (Lack of Training) คือ การฟังไม่ใช่ทักษะที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด ผู้คนไม่ได้เกิดมาเป็นผู้ฟังที่ดี จึงต้องมีการพัฒนาการฟังด้วยการปฏิบัติและการฝึกฝน การขาดการฝึกฝนในทักษะการฟังนั้นจึงเป็นอุปสรรคที่สำคัญเป็นอย่างมาก
8. นิสัยการฟังที่ไม่ดี (Bad Listening Habits) คือ คนส่วนมากเป็นผู้ฟังที่อยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งได้รับการพัฒนานิสัยการฟังที่อยู่ในเกณฑ์ต่ำ โดยนิสัยเหล่านั้นยากที่จะพูดว่าเป็นการกระทำอันเป็นอุปสรรคต่อการฟัง ตัวอย่างเช่น บางคนมีนิสัย “เสแสร้ง (fake)” อย่างตั้งใจ หรือพยายามเป็นเหมือนผู้ฟังคนอื่น ๆ เพื่อทำให้ผู้พูดประทับใจและเชื่อมั่นว่าเขากำลังตั้งใจฟัง
ไทยากิ (Tyagi. 2013 : 5-6) ได้กล่าวถึงการแก้ไขอุปสรรคการฟังว่า การได้ยินและการฟังเป็นสองกิจกรรมที่มีความแตกต่างกัน การได้ยินเป็นทักษะเชิงรับ (Passive)
ในขณะที่การฟังเป็นทักษะเชิงรุก (Active) การฟังนั้นเป็นกระบวนการทางด้านจิตวิทยาที่สามารถพัฒนา ได้ด้วยการฝึกฝนเป็นประจำและเป็นทักษะที่มีประโยชน์มาก ซึ่งต่อไปนี้เป็นวิธีที่สามารถช่วยพัฒนาทักษะการฟังได้
1. เผชิญหน้ากับผู้พูดโดยนั่งต่อหน้าผู้พูดหรือเอียงตัวเล็กน้อยเพื่อแสดงถึงความใส่ใจของคุณผ่านภาษากาย
2. สบตาผู้พูด คือ การมองไปยังผู้พูดในระดับที่คุณรู้สึกสบาย
3. ลดสิ่งรบกวนจากภายนอก เช่น ปิดโทรทัศน์ วางหนังสือหรือแม็กกาซีนลง และขอให้ผู้พูดรวมทั้งผู้ฟังคนอื่นๆทำเช่นเดียวกัน
4. ตอบสนองอย่างเหมาะสม เช่น พูดคำว่า “อืม” และพยักหน้าเพื่อแสดงถึง ความเข้าใจหรืออาจเป็นการตอบสนองด้วยท่าทางและคำพูดต่าง ๆ
5. เพ่งความสนใจไปยังสิ่งที่ผู้พูดกำลังพูด โดยพยายามไม่นึกถึงสิ่งที่ตนเองกำลังจะพูด บทสนทนาจะเกิดขึ้นเองหลังจากผู้พูดเอ่ยในสิ่งที่ตรงกับความคิดของผู้ฟัง
6. ลดสิ่งรบกวนจิตใจ โดยหากความคิดของคุณถูกขัดจังหวะ ให้ปล่อยมันไป และกลับมาให้ความสนใจกับผู้พูดต่อ
7. ยอมรับฟังความคิดเห็น คือ การรอจนกระทั่งผู้พูดกล่าวจบแล้ว หลังจากนั้นจึงค่อยแสดงความคิดเห็น โดยพยายามหลีกเลี่ยงการสันนิษฐานเกี่ยวกับสิ่งที่ผู้พูดกำลังคิด
8. กระตุ้นตนเอง ด้วยการถามคำถามเพื่อให้กระจ่าง แต่ควรรอจนกระทั่งผู้พูดกล่าวจบ และหลังจากถามคำถามให้แปลความจุดประสงค์ของคำถามเพื่อให้แน่ใจว่าคุณไม่ได้เข้าใจผิด
อ้างอิง
- http://www.chulapedia.chula.ac.th/index.php?title=%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3_(Communication)- https://www.schoolofchangemakers.com/knowledge/9939
https://massupha.wordpress.com/%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%AA/ http://pluspng.com/img-png/png-loud-noise-it-is-after-all-a-sports-car-it-s-een-got-a-tube-that-channels-engine-sounds-into-the-cabin-400.png https://english.cdn.zeenews.com/sites/default/files/2015/12/11/440585-hear.jpg
No comments:
Post a Comment