ยอดการวินิจฉัยคนเป็นโรคสมาธิสั้น (Attention Deficit Hyperactivity Disorder - ADHD) มีตัวเลขเพิ่มขึ้น ซึ่งในปี 2016 มีเด็กอเมริกัน 6 ล้านคนหรือเกือบ 10% ของเด็กทั้งหมดได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้โดยเพิ่มขึ้นจาก 6.1% ในปลายยุค 90 (ปี 1990-1999)
โดยทั่วไปแล้วผู้ป่วยสมาธิสั้น (ADHD) จะได้รับการรักษาด้วยยาที่เป็นสารกระตุ้น เช่น ยาแอดเดอรัล(Adderall) ซึ่งช่วยให้คนมีสมาธิขึ้นโดยการเพิ่มระดับของสารสื่อประสาทโดพามีน (dopamine) แต่ยานี้ก็มาพร้อมกับความเสี่ยงหลายๆ อย่างตั้งแต่อาการนอนไม่หลับไปจนถึงการเสียชีวิตอย่างเฉียบพลันในเด็กที่เป็นโรคหัวใจ
พ่อแม่ผู้ปกครองบางส่วนที่รู้สึกเป็นทุกข์ กังวลใจจากผลข้างเคียงของยาแอดเดอรัล (Adderall) ที่เป็นสารกระตุ้นนี้กำลังหันมาทดลองใช้กัญชาทางการแพทย์ซึ่งเพิ่มระดับของสารโดพามีน (dopamine) และช่วยให้จิตใจสงบ พ่อแม่ผู้ปกครองบางคนของเด็กที่มีภาวะสมาธิสั้น (ADHD) มีความระมัดระวัง ใส่ใจในการใช้ยาริทาลิน (Ritalin) และยาแอดเดอรัล (Adderall) ซึ่งเป็นวิธีการรักษาทั่วไปของโรคนี้ แต่เนื่องจากผลข้างเคียงที่เป็นไปได้ของยาเหล่านี้ที่เป็นสารกระตุ้นในการใช้ยาในระยะยาว ตอนนี้พวกเขากำลังหันไปหาแพทย์ที่จะออกใบสั่งจ่ายยากัญชาทางการแพทย์แทนElizabeth Spaar แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวในเมือง Verona มลรัฐ Pennsylvania บอกกับสื่อ Insider ว่า “พวกเขาเห็นพฤติกรรมของเด็กๆ มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้นในโรงเรียนและเด็กๆ ก็มีความสุขและสงบขึ้นเมื่ออยู่ที่บ้าน” โดยเธออ้างถึงผู้ป่วยเด็กและลูกๆ ของเธอที่เป็นโรคสมาธิสั้นได้ตอบสนองต่อกัญชาทางการแพทย์
ในขณะที่ยาที่เป็นสารกระตุ้นนั้นได้ช่วยเด็กบางคนที่มีปัญหาด้านสมาธิ ความสนใจและยังได้รับการอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐ (FDA) หรือ อ.ย. สหรัฐฯ แต่ทว่ายาพวกนี้ใช่ว่าจะไม่มีความเสี่ยง ยกตัวอย่างเช่น ยาแอดเดอรัล (Adderall) ซึ่งถูกจัดเป็นยาที่มีความเสี่ยงต่อการเสพติดสูง (schedule 2 drug) คือจัดเป็นยาเสพติด ซึ่งหมายถึงมี "ความเป็นไปได้สูงที่จะใช้ยาในทางที่ผิด" หรือเป็นอันตราย ยากระตุ้นนี้ยังมาพร้อมกับผลข้างเคียงต่างๆ เช่น ทำให้นอนไม่หลับ ง่วง ซึม ไม่อยากอาหารและการเจริญเติบโตที่ด้อยกว่าปกติ คือหยุดการเจริญเติบโต และเมื่อเวลาผ่านไปเด็กก็เกิดอาการดื้อยานำไปสู่ปริมาณหรือขนาดของยา (dose) ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งในที่สุดเด็กๆ ก็จะประสบกับยาที่มีประสิทธิภาพลดลง
กัญชาเพิ่มระดับสารโดพามีนได้เช่นเดียวกับยา Adderal และ Ritalin ซึ่งสารนี้สามารถช่วยให้คนที่มีภาวะสมาธิสั้นเพ่งจุดสนใจ จดจ่อได้ แต่กัญชาแตกต่างจากยาที่เป็นสารกระตุ้นเหล่านี้ เพราะกัญชาทางการแพทย์มีโอกาสน้อยที่จะทำให้เกิดปัญหาในการนอนหลับและความอยากอาหารลดลง และโอกาสในการติดยาจะมีความเสี่ยงน้อยกว่า แต่คำถามยังคงมีที่เกี่ยวกับประสิทธิผลของกัญชา ผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวและกัญชาทางการแพทย์จะทำให้ผลลัพธ์เกี่ยวกับโรคสมาธิสั้น (ADHD) รุนแรงขึ้นได้หรือไม่ประสิทธิผลของกัญชาต่ออาการสมาธิสั้นนั้นยังมีหลักฐานไม่ชัดเจน (The evidence for marijuana's effectiveness on ADHD symptoms is unclear)
การวินิจฉัยโรคสมาธิสั้น (Attention Deficit Hyperactivity Disorder - ADHD) เป็นลักษณะอาการของสภาวะที่ขาดสมาธิอย่างต่อเนื่อง (inattention) อยู่ไม่นิ่ง (hyperactivity) และหุนหันพลันแล่นหรือขาดการ ยั้งคิด (impulsivity) ซึ่งกำลังเกิดเพิ่มขึ้นในหมู่คนหนุ่มสาวในสหรัฐอเมริกา และในปี 2016 มีเด็ก 6 ล้านคนหรือเกือบ 10% ของเด็กทั้งหมดได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมาธิสั้นซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 6.1% ในช่วงปลายยุค 90s (ปี 1990-1999) ตามข้อมูลจากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐอเมริกา (CDC) ระบุว่าในเวลาเดียวกันนั้นยาที่เป็นสารกระตุ้น (stimulants) ก็เริ่มเป็นวิธีการรักษามาตรฐานสำหรับผู้ป่วยสมาธิสั้น (ADHD)
มีการวิจัยเพียงเล็กน้อยเพื่อสนับสนุนประโยชน์ของกัญชาทางการแพทย์ในการรักษาโรคสมาธิสั้นและระยะเวลาในการรักษาก็จะมีความเสี่ยงมาเกี่ยวข้อง ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์บางคนกังวล และเป็นห่วงว่ากัญชาจะส่งผลกระทบต่อพัฒนาการทางด้านความคิดและสติปัญญา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการพัฒนาสมอง รวมถึงการที่กัญชาทำให้ความทรงจำระยะสั้นบกพร่อง
Roni Sharon นักประสาทวิทยาในนิวยอร์กได้ออกใบสั่งจ่ายกัญชาทางการแพทย์สำหรับรักษาอาการบางอย่างในผู้ใหญ่รวมถึงภาวะป่วยทางจิตจากเหตุการณ์รุนแรง (PTSD) แต่ Sharon บอกกับสื่อ Insider ว่าเขาไม่เห็นด้วยที่จะสั่งจ่ายยากัญชาให้กับผู้ป่วยที่มีอายุน้อยเพราะว่ามีความเสี่ยง “สมองของวัยรุ่นนั้น..ต้องระวังให้มาก” Sharon กล่าว
การศึกษาล่าสุดที่ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ The Lancet (published in the Lancet) สรุปว่ายังมีหลักฐาน ไม่เพียงพอที่จะแนะนำว่ากัญชาสามารถบรรเทาความผิดปกติทางจิตประสาทและอารมณ์ (mental health disorder) รวมถึงภาวะสมาธิสั้น (ADHD) ณ จุดนี้หน่วยงานกุมารเวชในสหรัฐฯ (The American Academy of Pediatrics หรือ AAP) ได้กล่าวว่าสนับสนุนการใช้กัญชาทางการแพทย์เฉพาะในเด็กที่เผชิญกับสถานการณ์ที่เป็นอันตรายคุกคามต่อชีวิต (life-threatening situations)
ถึงกระนั้นก็ไม่มีสิ่งใดที่จะมายับยั้งพ่อแม่ผู้ปกครองที่บอกว่าพวกเขาประสบมาโดยตรงและเห็นว่ากัญชาทางการแพทย์ได้ช่วยเด็กๆ ที่กำลังประสบปัญหากับอาการโรคสมาธิสั้น (ADHD) ได้อย่างไรแพทย์คนหนึ่งได้กล่าวว่ากัญชาสามารถช่วยแก้ไขปัญหาด้านความสนใจ ความตั้งใจ และอาจทำให้ความคิดที่แล่นเร็วมากในหลายๆ เรื่องสงบลง (racing thoughts) สงบลง (One doctor says cannabis can help with attention issues and may calm racing thoughts)
Dr. Elizabeth Spaar เป็นเจ้าของ Spectrum Family Practice ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านกัญชาทางการแพทย์และการฟื้นฟู บำบัดการติดยาเสพติด (addiction recovery) ซึ่งนับตั้งแต่เปิดโครงการกัญชาเมื่อหนึ่งปีครึ่งที่ผ่านมา Dr. Spaar กล่าวว่าเธอได้ออกใบสั่งจ่ายกัญชาทางการแพทย์แก่ผู้ป่วยโรคเด็กประมาณ 75 คนที่มีอาการหลายอย่างซึ่งรวมไปถึงโรคสมาธิสั้น (ADHD) ภาวะป่วยทางจิตจากเหตุการณ์รุนแรง (PTSD) โรคออทิสติก (autism) และกลุ่มอาการทูเรตต์ (Tourette syndrome - อาการกล้ามเนื้อกระตุกและเปล่งเสียงออกมาอย่างไม่ตั้งใจ) เมื่อ Dr. Spaar ได้พูดคุยกับผู้ป่วยเกี่ยวกับข้อดีข้อเสียของการรักษาโรคสมาธิสั้นด้วยกัญชาทางการแพทย์ เธอชี้ให้ดูไปที่ประสบการณ์ส่วนตัว
ลูกชายวัยรุ่นทั้งสองคนของ Dr. Spaar มีทั้งภาวะสมาธิสั้นและออทิสติก เป็นเวลาหลายเดือนที่ลูกชายคนน้องของ Spaar ได้ลองใช้ยาที่เป็นสารกระตุ้นหลายชนิด เช่น Adderall, Ritalin, Concerta เพื่อรักษาอาการที่เกี่ยวข้องกับสภาวะอาการต่างๆ
แม้ว่ายาเหล่านี้ค่อนข้างจะช่วยได้ Dr. Spaar กล่าวว่าเธอกังวลและเป็นห่วงกับผลข้างเคียงซึ่งรวมไปถึงการทำให้เบื่ออาหารและนอนไม่หลับ หลับไม่สนิท ซึ่งอาการพวกนี้เป็นผลกระทบหลักของยาที่เป็นสารกระตุ้นเหล่านี้
ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์บางคนบอกว่ากัญชาทางการแพทย์นั้นมีประโยชน์ขอเพียงแค่ให้ผู้ป่วยสมาธิสั้นของพวกเขานั้นได้ออกจากยาสารกระตุ้นเหล่านั้นDavid Berger กุมารแพทย์และผู้อำนวยการด้านการแพทย์ของ Wholistic Releaf ซึ่งเป็นคลินิกกัญชาทางการแพทย์ในเมืองแทมปา รัฐฟลอริดาได้แจ้งต่อสื่อ Insider ว่าเขาใช้กัญชาเพื่อจุดประสงค์นั้น
โดยรวมแล้ว นายแพทย์ Berger กล่าวว่าผู้ป่วยเด็ก 20 คนของเขาสามารถหยุดการใช้ยา เช่น Ritalin และ Adderall ได้โดยการรวมกันของสาร THC ซึ่งเป็นสารเคมีในกัญชาที่มีผลต่ออาการเคลิบเคลิ้ม มึนเมาทางจิตใจและร่างกาย และสาร CBD ซึ่งเป็นสารประกอบทางเคมีที่ไม่ทำให้ผู้ป่วยเคลิบเคลิ้ม มึนเมา แต่สามารถช่วยในการแก้ไขปัญหาทางการแพทย์และสุขภาพจิตบางอย่าง
Dr. Spaar ได้ตัดสินใจเมื่อปีที่แล้วเพื่อให้ลูกชายทั้งสองของเธอได้รับสาร THC และ CBD จากกัญชาในขนาดไมโครดอส (microdose) คือ เริ่มใช้ทีละน้อยๆ ค่อยๆ เพิ่มทีละนิด เพื่อเป็นทางเลือกในการใช้แทนยาที่เป็นสารกระตุ้น (stimulants) โดยการให้ยากัญชาวันละ 2 ครั้งในขนาด 5 มิลลิกรัมในรูปแบบของน้ำมันแก่ลูกชายที่มีอายุ 13 และ 15 ปี
Dr. Spaar กล่าวว่าบางครอบครัวจะดำเนินการร่วมกับเภสัชกรและที่ปรึกษาในร้านขายยากัญชา (dispensary) เพื่อหาวิธีที่จะได้ปริมาณหรือขนาดของยาที่เหมาะสม เธอได้ปรึกษากับจิตแพทย์ลูกๆ ของเธอเกี่ยวกับประเด็นปัญหานี้ แต่เขาไม่ได้จัดการเฉพาะกรณี
Dr. Spaar กล่าวว่า ตั้งแต่เริ่มรับกัญชาทางการแพทย์ ลูกชายคนน้องของเธอตอนนี้มีความวิตกกังวลน้อยลงและมีสมาธิจดจ่อไปที่งานของโรงเรียนได้ดีขึ้น เธอบอกว่ากัญชายังช่วยเขาในเรื่องของอาการติกส์หรืออาการกล้ามเนื้อกระตุก และทำให้การนอนหลับของเด็กชายอายุ 14 ปีดีขึ้นและอยากทานอาหารมากขึ้นตั้งแต่เขาได้หยุดใช้ยาที่เป็นสารกระตุ้น
ลูกชายคนพี่ของ Dr. Spaar ซึ่งมีอาการออทิสติกและอาการสมาธิสั้นรุนแรงกว่าน้องชายนั้นมีพัฒนาการที่ดีขึ้นที่เห็นได้ชัดเจนในหลายๆ ด้าน แม่ของเขากล่าวว่า ตั้งแต่ได้รับการแนะนำให้รู้จักกับกัญชาทางการแพทย์ เกรดการเรียนของเด็กชายวัย 15 ปีนั้นดีขึ้น เขามีช่วงเวลาที่สะดวกสบาย ง่ายขึ้นในการมีสมาธิจดจ่อและทำงานให้เสร็จสมบูรณ์ทั้งที่โรงเรียนและที่บ้าน Dr. Spaar กล่าวว่ากัญชายังช่วยลดอาการอยู่ไม่นิ่ง ซนผิดปกติและสงบสติอารมณ์ ความคิดที่แล่นเร็วและความร้อนรนของเขา
Dr. Spaar บอกว่าเธอ "ไม่ต้องสงสัยเลยว่า" เธอจะได้เห็นเคสการรักษาอื่นๆ อีกมากที่ใช้กัญชาทางการแพทย์ในการรักษาเด็กที่มีปัญหาด้านสมาธิ ความสนใจ
Spaar กล่าวว่าเพื่อนร่วมงานของเธอเป็นแกนนำเกี่ยวกับการไม่ยอมรับในกัญชา (Spaar said her peers have been vocal about their disapproval)Dr. Spaar กล่าวว่าผู้ป่วยของเธอพึงพอใจกับผลลัพธ์โดยเฉพาะ เนื่องจากกัญชาช่วยทำให้พวกเขาหลายคนลดจำนวนการใช้ยาที่เป็นสารกระตุ้นหรืออาจจะไม่ต้องใช้ยานั้น ถึงกระนั้น Dr. Spaar กล่าวว่าเพื่อนร่วมงานของเธอบางคนเป็นแกนนำพูดเกี่ยวกับการไม่ยอมรับในกัญชา
“มีคนบางกลุ่มพูดว่า 'คุณเพียงแค่ทำให้ลูกของคุณเคลิบเคลิ้ม มึนเมา ' นั่นคือสิ่งที่พวกเขาคิด เมื่อพวกเขา นึกถึงกัญชา Dr. Spaar กล่าว “แต่ทว่าเมื่อฉันได้บอกพวกเขาถึงการพัฒนาที่ดีขึ้นอย่างน่าทึ่งที่ฉันได้เห็นและมันมีแนวโน้มที่จะทำให้ผู้คนได้ตาสว่าง ทำให้เห็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ”แม้ว่าพ่อแม่ผู้ปกครองจะมีทางเลือกที่จะบำบัดรักษาลูกๆ ของพวกเขาด้วยกัญชาทางการแพทย์ แต่การเข้าถึงกัญชาดูจะเป็นความท้าทายที่สำคัญ เนื่องจากทุกรัฐมีกฎหมายที่แตกต่างกันเกี่ยวกับโรคประจำตัวใดๆ ที่ผู้ป่วยมีคุณสมบัติเพื่อได้บัตรกัญชาทางการแพทย์ และพวกเขาจะเข้มงวดอย่างเคร่งครัดโดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยเด็ก ซึ่งในขณะนี้โรคสมาธิสั้น (ADHD) ยังไม่ถือว่าเป็นโรคที่มีคุณสมบัติใช้กัญชารักษา (qualifying condition) ในรัฐใดๆ ซึ่งหมายความว่าการใช้กัญชาในการรักษาโรคสมาธิสั้นนั้นผิดกฎหมาย แม้แต่ในรัฐที่กัญชาทางการแพทย์ได้รับการอนุมัติสำหรับการรักษาในบางโรค
การวินิจฉัยเพิ่มเติมในเด็กที่มีภาวะสมาธิสั้น (ADHD) เพื่อคุณสมบัติที่เหมาะสมสำหรับบัตรกัญชาทางการแพทย์เพื่อใช้ในการบำบัดรักษาอาการ (A child with ADHD may have an additional diagnosis that qualifies for a medical-marijuana card)
เด็กๆ ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมาธิสั้น (ADHD) อาจได้รับการวินิจฉัยด้วยสภาวะอื่นที่ทำให้ผู้ป่วยมีคุณสมบัติสำหรับบัตรกัญชาทางการแพทย์ซึ่งรวมไปถึงโรคออทิสติก ภาวะป่วยทางจิตจากเหตุการณ์รุนแรง (PTSD)
แพทย์ผู้สนับสนุนและเห็นด้วยกับการออกใบสั่งจ่ายกัญชาในการรักษาโรคสมาธิสั้น (ADHD) เชื่อว่าเร็ว ๆ นี้กัญชาจะเป็นการรักษามาตรฐานมากขึ้นสำหรับโรคประจำตัวนี้และโรคอื่นๆ ในกลุ่มผู้ป่วยเด็ก
Anand Dugar วิสัญญีแพทย์และแพทย์เวชศาสตร์ที่เป็นเจ้าของ Green Health Docs (ก่อตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ: เพื่อต่อสู้กับการแพร่ระบาดของยากแก้ปวดกลุ่ม opioid) ในเมือง Frederick รัฐ Maryland เป็นหนึ่งในกลุ่มแพทย์ที่มีความหวังนั้น
นายแพทย์ Dugar แจ้งว่าเขาได้ออกใบสั่งจ่ายกัญชาทางการแพทย์ให้กับผู้ป่วยมากถึง 20,000 คน และบอกว่าเขาได้ให้คำปรึกษาต่อพ่อแม่กับผู้ปกครองหลายๆ คนที่ต้องการลองใช้กัญชารักษาโรคสมาธิสั้นเพื่อช่วยให้เด็กๆ ของเขาสงบสติอารมณ์ ผ่อนคลายและมีสมาธิมากขึ้น
"คนที่มองโลกในแง่ร้ายประจำและชอบปฏิเสธอยู่เสมอ (naysayers) มองแต่ว่าจะไม่ปลอดภัย" Berger กล่าว "แน่นอนว่ามันหมายถึง ผู้คนจำนวนมากกำลังลองใช้กัญชา"
Steve Smith ผู้อำนวยการด้านการแพทย์ของ Essential Nutrition and Wellness คลินิกการแพทย์ทางเลือกแบบองค์รวมซึ่งเป็นทางเลือกเพื่อสุขภาพในรัฐอิลลินอยส์ก็เชื่อว่ามีสถานการณ์ที่เหมาะสมกับการออกใบสั่งจ่ายกัญชา เขายังอยู่ในค่ายของผู้คนที่คิดว่าการใช้กัญชาทางการแพทย์นั้นดีที่สุดเพื่อให้ผู้ป่วยลดการใช้ยาที่เป็นสารกระตุ้น (stimulants) ลง
Smith กล่าวว่า มีบ่อยครั้งที่อาการของโรคที่เกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหาด้านสมาธิ ความสนใจในเด็กนั้นได้รับการวินิจฉัยมากเกินไปหรือวินิจฉัยผิดพลาด พวกเด็กๆ เหล่านี้ "มีความยืดหยุ่น ปรับให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้" Smith บอกว่า สามารถทำให้สมาธิของพวกเขาดีขึ้นได้ด้วยการรักษาเชิงธรรมชาติมากขึ้น ซึ่งในผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะของโรคสมาธิสั้น (ADHD) นั้น Smith ได้เห็นการพัฒนาที่ดีขึ้นอย่างมากผ่านการบำบัดทางพฤติกรรมและด้วยสุขอนามัยในการนอนหลับและอาหารที่ดีขึ้น
“ผมต้องการไปยังจุดที่เราไม่ต้องให้ยากระตุ้นใดๆ แก่เด็กๆ ” เขากล่าวcredit:https://www.cannhealth.org/content/7145/cannhealth
อ้างอิง:
Insider / Jan. 7, 2020
By: Stephanie Thompson
https://www.insider.com/adhd-marijuana-adderall-alternative-kids-2020-1
C L I C K
nuffnang_bid = "5f393f24361c7c8f9011072c0c28f82e";
document.write( "" );
(function() {
var nn = document.createElement('script'); nn.type = 'text/javascript';
nn.src = 'http://synad2.nuffnang.co.th/lb.js';
var s = document.getElementsByTagName('script')[0]; s.parentNode.insertBefore(nn, s.nextSibling);
})();
Monday, 26 September 2022
ใช้กัญชารักษาโรคสมาธิสั้น (ADHD) แทนยาแอดเดอรัล (Adderall)
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment