Global Marketing Business

Opinion of my mind

C L I C K

Friday, 13 September 2019

เทคนิคปิดการขาย ที่นักขายมืออาชีพต้องรู้


เทคนิคปิดการขาย ที่นักขายมืออาชีพต้องรู้         BY AMARINBOOKS TEAM

การเสนอขายสินค้าว่ายากแล้วการ ปิดการขาย ให้ได้ยอดนั้นยากยิ่งกว่า บางครั้งลูกค้าจะปฏิเสธด้วยการยกเหตุผลนานามาอ้างเพื่อบอกปัดการซื้อสินค้าของเรา ไม่ว่าจะเป็นคำว่า “ขอคิดดูก่อนนะ” “ขอไปปรึกษาแฟน” “ที่บ้านมีแล้ว” ฯลฯ และประโยคยอดฮิตอย่าง “แพงไป ไม่มีเงิน”
ลองมาดูเทคนิค ปิดการขาย ที่เหล่านักขายมืออาชีพต้องรู้ จากสุดยอดนักขายอันดับ 1 ในประเทศญี่ปุ่น!

ถามถึงความต้องการซื้อ อย่างตรงไปตรงมา 
หลังจากนำเสนอสินค้าไปแล้ว ก็เริ่มเข้าสู่ขั้นตอน ปิดการขาย ได้เลย แต่นักขายบางคนมักใช้คำพูดเหล่านี้ในการปิดการขาย เช่น “ต่อไปเป็นข้อเสนอจากบริษัทเรา รบกวนพิจารณาด้วยนะครับ นัดครั้งต่อไปเมื่อไหร่ดีครับ”
ถ้าคุณยังใช้วิธีพูดแบบนี้อยู่ ก็ไม่มีทางคว้ายอดซื้อได้เลย เพราะลูกค้าจะพูดว่า “จะรับไปพิจารณาดู และติดต่อกับไปนะครับ” สรุปแล้วการเจรจาครั้งนั้นก็ไม่ได้อะไรกลับไปเลย นี่เป็นการเปิดช่องว่างให้ลูกค้าปฏิเสธกันเห็นๆ


คำพูดที่ต้องใช้หลังจากนำเสนอสินค้าเสร็จคือ

“เป็นอย่างไรบ้างครับ ถ้าไม่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับสินค้าที่นำเสนอ ลูกค้าอยากจะซื้อสินค้าของเราไหมครับ”  
หลังจากนำเสนอเสร็จ ต้องถามถึงความตั้งใจซื้อขายของลูกค้าที่อยู่ตรงหน้าทันที เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจให้ตัวเอง



ปล่อยมือจากผลประโยชน์ของตัวเอง
ต่อให้อยากได้ยอดสั่งซื้อมากแค่ไหน ถ้าพิจารณาแล้วว่าบริการของบริษัทอื่นมีประโยชน์ต่อลูกค้ามากกว่าก็ไม่ควรแนะนำบริการของบริษัทตัวเอง นี่คือจิตวิญญาณของความซื่อสัตย์สุจริต
ตัวอย่างเช่น มีลูกค้าท่านหนึ่งถามหาเสื้อเชิ้ตที่ตนอยากได้กับพนักงานขาย พนักงานตรวจเช็กสินค้าของตัวเองแล้วพบว่าไม่มี หลังจากนั้นก็หายไป แล้วก็กลับมาบอกว่า

“ขอโทษนะคะ ทางร้านเราไม่มีเสื้อเชิ้ตแบบที่คุณลูกค้าต้องการ เลยลองไปเคานต์เตอร์แบรนด์อื่นก็ไม่มีสินค้าเหมือนกัน ต้องขออภัยจริงๆ ค่ะ”

การทำแบบนี้จะสร้างความประทับใจให้ลูกค้า ในอนาคตเขาจะต้องกลับมาซื้อสินค้าจากแบรนด์คุณอย่างแน่นอน หรือไม่แน่ เขาอาจจะซื้อสินค้าของคุณในวันนั้นเลยก็ได้



เก็บข้อมูลจากลูกค้าที่ปฏิเสธ
ในการปิดการขายแต่ละครั้ง โอกาสที่จะปิดการขายสำเร็จอาจมีเพียง 20% เท่านั้น แล้วอีก 80% ที่ปฏิเสธล่ะ เราจะยอมปล่อยพวกเขาไปเฉยๆ งั้นหรือ
นักขายมืออาชีพจะไม่ทำแบบนั้นอย่างแน่นอน เขาจะเก็บข้อมูลจากสิ่งที่ลูกค้าปฏิเสธ และถามลูกค้าไปตรงๆ ว่า “สำหรับการสั่งสินค้ายังมีจุดไหนที่ควรปรับปรุงอีกไหมครับ” และมักได้คำตอบประมาณนี้ เช่น ราคาแพง, มีหลายบริษัทติดต่อเข้ามายังตัดสินใจไม่ได้, ไม่มีอำนาจตัดสินใจ คราวนี้ก็ถึงตาคุณที่ต้องคิดแล้วว่าจะมีวิธีกับคำตอบพวกนี้ยังไง



ของดีเลยต้องขายแพง
ปัญหายอดฮิตที่นักขายทุกคนต้องเจอก็คือ ลูกค้าบอกว่า “แพง” ถ้าคุณยอมแพ้ทันทีแสดงว่ายังเป็นนักขายมือใหม่อยู่ ขอบอกให้ชื่นใจอีกทีว่าสินค้าที่มีราคาแพงมักมีเหตุผลรองรับอยู่เสมอ อยู่ที่ว่าคุณจะอธิบายเหตุผลเหล่านั้นให้ลูกค้าฟังหรือเปล่า เช่น

“ผมว่าราคาสินค้าแพงไปนะครับ คุณช่วยลดราคาหรือลดต้นทุนลงสักหน่อยดีกว่า แล้วผมจะนำไปพิจารณาอีกครั้ง”
ขอให้อย่าเพิ่งถอยกลับทันที ให้ต่อรองราคาอีกสักนิด ถ้าลูกค้าขอส่วนลดมากเกินไป ให้บอกกับเขาว่า

“การลดราคาต้นทุน ทางเราทำให้ได้ครับ แต่ถ้าลูกค้าได้รับสินค้าคุณภาพครึ่งๆ กลางๆ ไปใช้ในบริษัท ผมคิดว่าไม่เหมาะกับบริษัทคุณลูกค้านะครับ”
พูดเสร็จก็รอให้ลูกค้าตัดสินใจ
สิ่งที่ควรทำคือ พยายามอธิบายอย่างหนักแน่นเรื่องคุณค่าที่แท้จริงที่ลูกค้าจะได้รับหลังจากซื้อสินค้าราคาแพง ไม่ใช่ยอมลดราคาเยอะๆ เพื่อให้ได้ยอดนั้น

 credit:  shorturl.at/cuMX6


Posted by Globle business at Friday, September 13, 2019 No comments:
Email ThisBlogThis!Share to XShare to FacebookShare to Pinterest
Labels: management, mindset, money, opportunity, thailand, think, wealth, บริหารจัดการ, สื่อสาร

Saturday, 7 September 2019

ปัญหาการสื่อสารด้วยการพิมพ์

พิมพ์ตอบในแชทห้วนๆ เพราะรีบ และกำลังยุ่ง
ก็เป็นประเด็นได้
.
เพราะอีกฝ่ายจะนึกเองว่า เป็นอะไรหรือเปล่า ทำไมตอบเสียงแข็งๆ  ทั้งๆที่ไม่ได้อะไรเลย
.
เวลาคุยเลยต้องตอบแบบมีหางเสียง
ได้จ้า,สรุปมาเบย , เรียบร้อยยยย, ถึงแล้วงับบ ฯลฯ
เพราะ สมองมนุษย์นั้น “แปลงคำ” แต่ละคำ แบบเข้าข้างตัวเอง
.
- การอ่านเพิ่มขึ้นเป็น ร้อยล้านเปอร์เซ็นต์ หากนับรวมกับที่เราต้องอ่านข้อความทั้งหมด ในมือถือทุกแอฟที่ใช้ในการสื่อสาร
.
- ทุกๆวัน เราต้องอ่านประโยคและคำเยอะมาก ไม่ว่าจะสั่งอาหาร คุยเรื่องงาน หรือคุยเล่นกับเพื่อน
.
- คำแต่ละคำที่พิมพ์ออกไป จึงมีความหมายในแบบของมัน บ่อยครั้ง “เราจะรู้ได้ว่าอีกฝ่ายกำลังรู้สึกยังไง” จากการอ่านการตอบเหล่านั้น

.
- เพราะเมื่อสมองเราเห็นคำ หรือสัญลักษณ์ ก็จะแปลงค่าเป็นความหมาย และอารมณ์ความรู้สึกด้วย เช่น สวัสดีครับ (จะรู้สึกได้ว่าสุภาพ) , ดีจ้า (ทักทายแบบเป็นมิตร)  หรือ หวัดดีฮะ (เป็นมิตร อ่อนน้อมและดูเป็นเด็ก).
.
- ข้อความข้างบนนี้ ความหมายเดียวกันหมด แต่ให้อารมณ์ต่างกันมาก
.
- ยิ่งการคุยงาน หรือการคุยกับคนที่ไม่สนิทมาก ในบ่อยครั้งจึงต้องระวังการพิมพ์ตอบ เพราะอาจจะเป็นประเด็น หรือผิดใจกันขึ้นมาได้ ทั้งๆที่ตอนนั้นคุณอาจจะกำลังรีบอยู่ และไม่สะดวกที่จะตอบแบบยาวๆ
.
- ความหมายของคำต่างๆ ในแต่ละคนนั้นจะให้คำนิยาม ต่างกันโดยคนส่วนใหญ่จะยึดจากตัวเองเป็นหลัก ทั้งแง่ของเหตุผลและอารมณ์
.
- จึงต้องมีการใส่อารมณ์เข้าไป เล็กๆน้อยๆ และระวังการตอบแบบห้วนๆ ถ้าคนนั้นไม่รู้จักเราดีพอ
.
- การใส่คำต่อท้ายเข้าไป หรือการแสดงสติกเกอร์ ก็เป็นแบบอย่างที่ดีกว่า ในการสนทนาแบบแชท เพราะทำให้บทสนทนาดูเป็นมิตรขึ้น แต่คุณต้องใช้ให้ถูก เวลาคุยเรื่องจริงจัง ก็ควรพิมพ์แบบจริงจัง
.
- สิ่งที่ต้องรู้ให้มากๆเลยคือ "คำมันมีข้อจำกัดอยู่" เราไม่สามารถใช้คำแทนความหมายทุกอย่างได้ ดังนั้น การโทรคุยกัน หรือเจอหน้ากันย่อมดีกว่าการสนทการแบบพิมพ์กัน
.
- การค้นหาความหมายของชีวิต การใช้ชีวิต และการสืบต่อเรื่องราวของชีวิต ยังไงก็ต้องมี ความสำคัญของคำ แต่ละคำ ปนอยู่ ดังนั้นใช้มันให้ถูก และรู้ข้อจำกัดของมันด้วย การคุยต่อหน้ากันยังไงก็ยังดีที่สุด...
.
.
.
.
#TEDTOP
.
#TEDTalk #สรุปประเด็นเด่นจากTEDTalk
--------------
.
.
(เนื้อหาที่สรุป ดึงมาเฉพาะส่วนที่น่าสนใจ ผู้เขียนได้ใส่ความคิดเห็นและส่วนเสริมเข้าไป เพื่อให้เนื้อเรื่องน่าสนใจ สมบูรณ์ครบถ้วน และเหมาะกับภาษาเขียนมากยิ่งขึ้น)
.
.
| The conquest of new words
| John Koenig
| TEDxBerkeley
Posted by Globle business at Saturday, September 07, 2019 No comments:
Email ThisBlogThis!Share to XShare to FacebookShare to Pinterest
Labels: copy, mindset, nothing, opportunity, sum.marketing, thailand, think, บริหารจัดการ, สื่อสาร

Friday, 6 September 2019

รู้ไหม.....ว่าคุณอาจจะกำลังเป็นโรคShopaholic !!


“อุ้ย! ตัวนี้สวยอ่ะ เริดค่า ของมันต้องมี”
“หู้ยยยย รองเท้าแบบนี้ไง อยากได้มานานแล้ว”
“กรี๊ดดดด กรีดร้องค่ะขุ่นแม่ ลิปสติกสีนี้ยังไม่มีนี่นา ต้องจัดซะหน่อยละ”
“ว้าว! เว็บนี้สินค้าเซลล์ 50 เปอร์เซ็นต์แน่ะ พลาดไม่ได้ ต้องช้อป!” ฯลฯ 


คุณกำลังมีอาการประมาณนี้หรือเปล่า มือไม้สั่น หัวใจเต้นระริก รู้สึกควบคุมตัวเองไม่ค่อยได้ รู้ตัวอีกทีกดช้อปไปแล้วหลายชิ้น เรียกว่าบ้าช้อปปิ้งออนไลน์ขั้นเทพ วันไหนไม่ได้เข้าไปกดช้อปเลือกของลงตระกร้า วันนั้นถึงขั้นกินไม่ได้นอนไม่หลับ! สูญเสียไปเท่าไหร่แล้วกับคำว่า “ของมันต้องมี!” 
ลองเช็คตัวเองดูดี ๆ ว่าคุณกำลังเป็นอีกหนึ่งคนที่กำลังบ้าช้อปปิ้งออนไลน์แบบระห่ำขนาดนี้มั้ย อาการก็จะประมาณว่า ต้องเข้าไปช้อปบ่อย ๆ คอยเช็คสินค้าใหม่ สินค้าลดราคาอยู่เรื่อย ๆ จนถึงขั้นต้องเข้าไปช้อปทุกวัน วันไหนไม่ได้ช้อปรู้สึกครั่นเนื้อครั่นตัว!! เงินไม่มีก็จะไปยืมมาช้อป ถึงขั้นรูดบัตรเครดิต กู้เงินล่วงหน้าในอนาคตมาใช้ก่อนแล้วค่อยผ่อนทีหลัง ยอมอดอาหารจานโปรด ขนมนมเนยที่ชอบ เพื่อให้ได้ช้อปสักชิ้นเพื่อความสบายใจ รู้ตัวอีกที อ้าว! นี่ตรูซื้ออะไรมานักวะเนี่ย เอ...เกิดอะไรขึ้นกับเรากันนะ ทำไมถึงบ้าช้อปปิ้งออนไลน์ขนาดนี้ ถึงขั้นทนไม่ได้เลยถ้าได้เห็นป้ายลดราคา ป้ายซื้อหนึ่งแถมสอง อะไรทำนองนั้น ฯล แม้อยากหยุดแต่ก็หยุดไม่ได้สักที 
ไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ แล้วนะ รู้ตัวหรือไม่!? เพราะคุณกำลังเข้าข่ายเป็นโรค...“เสพติดการช้อปปิ้ง” หรือภาษาทางการแพทย์เรียกว่าโรค “Shopaholic” ยังไงล่ะ ถ้าจะแปลให้ตรงตัวก็คือ “เป็นคนที่ชอบที่ซื้อของมากจนหยุดไม่ได้” นั่นเอง ซึ่งนี่เป็นระยะเริ่มต้นเท่านั้นนะ ถ้าอาการรุนแรงมากขึ้นก็จะถึงขั้น “Compulsive buying disorder”... เชียวล่ะ โอ้ว! แม่เจ้า ทำไมถึงเป็นอย่างนั้นไปได้นะ ทำไมรู้สึกมีความสุขทุกครั้งที่ได้จ่ายเงินออกไป จิตใจที่ร้อนรุ่มจะรู้สึกสงบนิ่งลงเมื่อได้เสียเงินและได้ของที่อยากได้ (หรือไม่ได้อยากได้เท่าไหร่) มาไว้ในครอบครอง ทั้งๆ ที่หลายต่อหลายครั้ง ของเหล่านั้นไม่ได้จำเป็นต่อชีวิตเลย และเอาจริง ๆ แล้วก็เป็นของฟุ่มเฟือยซะด้วยซ้ำ นั่นก็เพราะว่า “สมอง” ของเรากำลังหลั่งสารเคมีออกมาประมาณ 3 ชนิดด้วยกัน นั่นก็คือ
1. สาร “โดปามีน” (Dopamine) ซึ่งเป็นสารเคมีที่ทำให้เรารู้สึกมีความสุข รู้สึกพึงพอใจ
2. สาร “เอ็นดอร์ฟิน” (Endorphins) ซึ่งเป็นสารเคมีที่ทำให้เรารู้สึกผ่อนคลาย ไปจนถึงช่วยบรรเทาความเจ็บปวดของร่างกายได้ และสารที่
3. “เซโรโทนิน” (Serotonin) เป็นสารที่ช่วยลดความเครียด และทำให้เราอารมณ์ดีนั่นเอง* 
ทุกครั้งที่คุณช้อปปิ้งออนไลน์ (หรือแม้แต่ช้อปในห้างสรรพสินค้า หรือใน Shop ต่าง ๆ ก็เถอะ) และบอกกับตัวเองว่า “ฉันกำลังมีความสุข” สมองจะหลั่งสาร 3 ชนิดนี้ออกมาทันที และสมองก็จะเกิดการจำว่า “ช้อปปิ้งออนไลน์ทุกครั้ง มีความสุขทุกครั้ง” เลยทำให้คุณทำพฤติกรรมซ้ำ ๆ เพื่อให้ตัวเองได้พบความสุขซ้ำ ๆ จริง ๆ คุณอาจไม่ได้เสพติดการซื้อของพวกนั่นหรอกนะ แต่คุณกำลังเสพติดความสุขต่างหาก ต้องการให้ตัวเองได้ลิ้มรสความสุขนั้นวนไปวนมา ทั้ง ๆ ที่รู้ว่ามันเป็นความสุขเพียงแค่ชั่วครู่ชั่วยามก็ตาม 
ซึ่งพฤติกรรมแบบนี้ มักจะไปขัดขวางความก้าวหน้าของคุณ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเวลาที่เสียไปจากการนั่งเลือกสินค้า แทนที่คุณจะเอาไปทำอย่างอื่นที่มีประโยชน์กว่า ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน การจัดการงานบ้าน การได้ทำงานอดิเรกที่ชอบ ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ความสัมพันธ์กับคนรัก เพราะการซื้อของอยู่บ่อย ๆ นั้นแน่นอนว่าแฟนคุณไม่ชอบหรอก อาจจะทำให้คุณมีปัญหากับแฟนแน่นอน และที่หนักไปกว่านั้น เงินที่คุณจ่ายออกไปอาจจะทำให้คุณชักหน้าไม่ถึงหลัง จนถึงขั้นเป็นหนี้เป็นสินได้ และจากนั้นก็ส่งผลให้คุณเกิดภาวะเครียด คิดอะไรไม่ออกในที่สุด ซึ่งผลพวงเหล่านี้จะไปลดทอนประสิทธิภาพในการทำงานและการใช้ชีวิตของคุณลง ทำให้คุณไม่ก้าวหน้าและยากที่จะประสบความสำเร็จในชีวิตนั่นเอง

จากการศึกษาได้พบว่า ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นประเทศมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลก มีผู้อยู่ในภาวะเสพติดความสุขจากการช้อปปิ้งออนไลน์นี้ถึง 5 เปอร์เซ็นต์ด้วยกัน และในจำนวน 5 เปอร์เซ็นต์ เป็นผู้หญิงถึงร้อยละ 80 และสินค้าที่ซื้อกันนั้นก็คือ เสื้อผ้า และเครื่องแต่งกายนั่นเอง**
ซึ่งถ้าคุณอยากแก้ไขพฤติกรรมนี้ให้ได้ ก็ต้องหมั่นฝึกตัวเองบ่อย ๆ ด้วยความตั้งใจ และตั้งสติทุกครั้งก่อนเข้าไปช้อปปิ้งออนไลน์ โดยเริ่มปฏิบัติ 3 ข้อหลัก ๆ ดังนี้ 
1. ทำบัญชีส่วนการช้อปปิ้งเอาไว้ จะทำให้คุณเห็นว่า คุณได้สูญเสียเงินไปเท่าไหร่แล้วกับคำว่า “ของมันต้องมี” ซึ่งแน่นอนว่า ยอดรวมของมันจะทำให้คุณต้องตกใจ! 
2. เช็กให้ชัวร์หลาย ๆ รอบก่อนตัดสินใจซื้อ ว่าสินค้าที่เรากำลังจะช้อปนั้นเรามีแล้วหรือยัง และเราจำเป็นต้องใช้มันจริง ๆ หรือเปล่า? หรือแค่สะสมรอวันบริจาคเท่านั้น 
3. หากิจกรรมอื่น ๆ ที่ชอบทำ กิจกรรมที่ทำให้เรามีความสุขนั้นมีอยู่มากมาย และทำได้ง่าย ๆ อาทิเช่น เล่นกีฬาที่ชอบ อ่านหนังสือดีมีประโยชน์ ทำอาหาร เป็นต้น 
จิตแพทย์จาก “มหาวิทยาลัยมินนิโซตา” สหรัฐอเมริกา ได้คิดค้นยารักษาโรคเสพติดความสุขจากการช้อปปิ้ง (Shopaholic) ขึ้นมา ซึ่งตัวยาดังกล่าวจะมีลักษณะคล้ายยาที่ในวงการแพทย์ใช้รักษาผู้ป่วยที่เป็นโรค “อัลไซเมอร์” หรือ “โรคความจำเสื่อม” โดยจะไปช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองให้สร้างพฤติกรรมที่ต่างไปจากเดิม ๆ ที่เคยทำ และไม่มีผลข้างเคียงใด ๆ*** แต่อย่าให้ถึงขั้นต้องใช้ยารักษาเลยนะ มาตั้งใจ ตั้งสติ ปรับพฤติกรรมใหม่ในการช้อปฯ กันดีกว่า รับรองว่าจะมีเงินเหลือเก็บอีกเยอะ 
อ้างอิง
*https://www.nicetofit.com/สารแห่งความสุข/
**http://www.thaihealth.or.th/partnership/Content/6880-โรคเสพติดการช็อปปิ้ง.html
***https://www.wegointer.com/2016/02/shopaholic/
****https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTdkVEoRqaEdiygARHijJZxlBcmRyIjkE24b6gx3hGtQDnHH4R5 
*****https://recoveringshopaholicblog.files.wordpress.com/2016/03/shopaholic-words.jpg?w=584 
******https://media.giphy.com/media/d3mmdNnW5hkoUxTG/giphy.gif
Posted by Globle business at Friday, September 06, 2019 No comments:
Email ThisBlogThis!Share to XShare to FacebookShare to Pinterest
Labels: management, mindset, opportunity, self-confidence, thailand, think, wealth, บริหารจัดการ

Monday, 2 September 2019

ทำไมถึงปิดการขายไม่ได้สักที

ทำไมถึงปิดการขายไม่ได้สักที


ข้อผิดพลาดอย่างหนึ่งที่มักจะเกิดขึ้นกับนักขายที่ไม่ประสบความสำเร็จในการขายก็คือ การมีทัศนคติไม่ดีต่อลูกค้า มองลูกค้าเป็นคนที่คุณต้องเอาชนะให้ได้ จึงไม่ได้ปฏิบัติกับลูกค้าอย่างถ้อยทีถ้อยอาศัย และไม่ได้คำนึงถึงความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก แต่มุ่งความต้องการปิดการขายของตนเองมากกว่า หากคุณต้องการประสบความสำเร็จในการขาย จงเปลี่ยนทัศนคติของคุณตั้งแต่วันนี้


  • ลูกค้าชนะ…คุณก็ชนะ
          การขายที่ดีที่สุดคือการขายที่ผู้ขายและผู้ซื้อได้รับประโยชน์เป็นที่พึงพอใจกันทั้งสองฝ่าย หรือที่เรียกว่า Win-Win ซึ่งหมายความว่า คุณชนะ เพราะลูกค้าชนะ ไม่ใช่การมีชัยชนะเหนือลูกค้า เมื่อลูกค้าซื้อสินค้าจากคุณ เขาซื้อผลประโยชน์ และผลประโยชน์นั้นอาจอยู่ในรูปของการผลิตที่เร็วขึ้น ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานลง ยอดขายสูงขึ้น เป็นต้น คุณต้องเฝ้ามองลูกค้าและเห็นลูกค้าเกิดประโยชน์เหล่านั้นด้วย ไม่ใช่แค่ปิดการขายได้แล้วก็จบ ไม่สนใจลูกค้าอีกต่อไป

  • อย่ามองลูกค้าเป็นศัตรู
          เมื่อคุณมองลูกค้าเป็นศัตรู นั่นหมายความว่าความคิดคุณจะเป็นตัวกำหนดการกระทำของคุณ คุณคิดว่าลูกค้าเป็นศัตรู คุณจึงต้องพยายามเอาชนะลูกค้า หลอกลวงลูกค้าด้วยปัญญาหรือแสดงตัวข่มลูกค้า พฤติกรรมเช่นนี้จะไม่มีวันทำให้คุณประสบความสำเร็จในการเป็นนักขายได้เลย ในทางกลับกันคุณยังจะเสียลูกค้า และอาจเกิดชื่อเสียงที่ไม่ได้กับตัวคุณด้วย
  • อย่าคิดที่จะจัดการกับลูกค้า
          หากมีใครบอกคุณว่า คุณควรจะจัดการกับลูกค้าก่อนที่จะถูกลูกค้าจัดการคุณ บอกตัวเองว่าคุณกำลังตกเป็นเหยื่อของคำแนะนำที่เลวร้าย ดังที่กล่าวมาแล้ว คุณไม่ควรมองลูกค้าเป็นศัตรู การที่ใครจะจัดการใครนั้นเป็นเรื่องของคนที่เป็นศัตรูกัน ไม่ใช่พันธมิตร หรือคนที่อยู่ฝ่ายเดียวกัน ลูกค้าไม่ใช่คนที่จะจัดการคุณ แต่ลูกค้าคือคนที่ให้โอกาสที่ดีกับคุณต่างหาก
  • มองลูกค้าเป็นเพื่อนที่ดี
          แทนที่จะมองลูกค้าเป็นศัตรู คุณควรมองลูกค้าเป็นเหมือนเพื่อนที่ดีของคุณ การที่ลูกค้าเดินเข้ามาหาคุณ ก็แสดงให้เห็นแล้วว่าลูกค้าต้องการเป็นเพื่อนกับคุณจริง ๆ แม้พนักงานขายหลายคนจะบอกว่า เป็นเรื่องที่เชื่อได้ยาก แต่มันก็เป็นความจริง หากคุณมองลูกค้าเป็นผู้ที่คุณต้องการทำธุรกิจด้วย การเอาใจใส่ลูกค้าอย่างเพื่อน จะทำให้ทั้งคุณและลูกค้าต่างก็บรรลุเป้าหมายด้วยกันทั้งคู่
  • ยึดลูกค้าเป็นหลัก
          คุณควรยอมรับในการตัดสินใจของลูกค้า แม้ว่าในการเสนอขายครั้งแรก ลูกค้าไม่ได้ตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าของคุณ เป้าหมายของคุณในฐานะนักขายก็คือ การสร้างความไว้ใจซึ่งกันและกัน โดยการไปเยี่ยมลูกค้าบ่อย ๆ รับฟังในสิ่งที่ลูกค้าพูด ยอมรับเป้าหมายของลูกค้าเสมือนเป็นเป้าหมายของคุณเอง และที่สำคัญอย่ายึดติดกับการปิดการขายมากเกินไป จนละเลยการให้ความเคารพลูกค้า



source:https://goo.gl/gMjxzphttp://leonardkim.com/wp-content/uploads/2015/04/What-Is-the-Best-Way-to-Deal-with-Disappointment-600x400.jpg





Posted by Globle business at Monday, September 02, 2019 No comments:
Email ThisBlogThis!Share to XShare to FacebookShare to Pinterest
Labels: copy, loose, madness, mindset, opportunity, wealth, บริหารจัดการ, ฝันร้าย, วิกฤติ
Newer Posts Older Posts Home
Subscribe to: Posts (Atom)

wanna tell anyone

About Me

Globle business
View my complete profile

Blog Archive

  • ►  2024 (1)
    • ►  January (1)
  • ►  2023 (2)
    • ►  September (1)
    • ►  August (1)
  • ►  2022 (12)
    • ►  September (1)
    • ►  August (3)
    • ►  July (1)
    • ►  May (4)
    • ►  April (1)
    • ►  March (1)
    • ►  January (1)
  • ►  2021 (5)
    • ►  August (1)
    • ►  April (4)
  • ►  2020 (1)
    • ►  February (1)
  • ▼  2019 (8)
    • ▼  September (4)
      • เทคนิคปิดการขาย ที่นักขายมืออาชีพต้องรู้
      • ปัญหาการสื่อสารด้วยการพิมพ์
      • รู้ไหม.....ว่าคุณอาจจะกำลังเป็นโรคShopaholic !!
      • ทำไมถึงปิดการขายไม่ได้สักที
    • ►  August (2)
    • ►  April (2)
  • ►  2018 (6)
    • ►  September (1)
    • ►  April (1)
    • ►  January (4)
  • ►  2017 (7)
    • ►  November (4)
    • ►  September (1)
    • ►  July (1)
    • ►  June (1)
  • ►  2016 (5)
    • ►  November (2)
    • ►  May (1)
    • ►  March (1)
    • ►  January (1)
  • ►  2015 (11)
    • ►  November (1)
    • ►  September (1)
    • ►  August (1)
    • ►  July (3)
    • ►  June (5)

Followers

Picture Window theme. Powered by Blogger.