C L I C K

Saturday 7 September 2019

ปัญหาการสื่อสารด้วยการพิมพ์

พิมพ์ตอบในแชทห้วนๆ เพราะรีบ และกำลังยุ่ง
ก็เป็นประเด็นได้
.
เพราะอีกฝ่ายจะนึกเองว่า เป็นอะไรหรือเปล่า ทำไมตอบเสียงแข็งๆ  ทั้งๆที่ไม่ได้อะไรเลย
.
เวลาคุยเลยต้องตอบแบบมีหางเสียง
ได้จ้า,สรุปมาเบย , เรียบร้อยยยย, ถึงแล้วงับบ ฯลฯ
เพราะ สมองมนุษย์นั้น “แปลงคำ” แต่ละคำ แบบเข้าข้างตัวเอง
.
- การอ่านเพิ่มขึ้นเป็น ร้อยล้านเปอร์เซ็นต์ หากนับรวมกับที่เราต้องอ่านข้อความทั้งหมด ในมือถือทุกแอฟที่ใช้ในการสื่อสาร
.
- ทุกๆวัน เราต้องอ่านประโยคและคำเยอะมาก ไม่ว่าจะสั่งอาหาร คุยเรื่องงาน หรือคุยเล่นกับเพื่อน
.
- คำแต่ละคำที่พิมพ์ออกไป จึงมีความหมายในแบบของมัน บ่อยครั้ง “เราจะรู้ได้ว่าอีกฝ่ายกำลังรู้สึกยังไง” จากการอ่านการตอบเหล่านั้น

.
- เพราะเมื่อสมองเราเห็นคำ หรือสัญลักษณ์ ก็จะแปลงค่าเป็นความหมาย และอารมณ์ความรู้สึกด้วย เช่น สวัสดีครับ (จะรู้สึกได้ว่าสุภาพ) , ดีจ้า (ทักทายแบบเป็นมิตร)  หรือ หวัดดีฮะ (เป็นมิตร อ่อนน้อมและดูเป็นเด็ก).
.
- ข้อความข้างบนนี้ ความหมายเดียวกันหมด แต่ให้อารมณ์ต่างกันมาก
.
- ยิ่งการคุยงาน หรือการคุยกับคนที่ไม่สนิทมาก ในบ่อยครั้งจึงต้องระวังการพิมพ์ตอบ เพราะอาจจะเป็นประเด็น หรือผิดใจกันขึ้นมาได้ ทั้งๆที่ตอนนั้นคุณอาจจะกำลังรีบอยู่ และไม่สะดวกที่จะตอบแบบยาวๆ
.
- ความหมายของคำต่างๆ ในแต่ละคนนั้นจะให้คำนิยาม ต่างกันโดยคนส่วนใหญ่จะยึดจากตัวเองเป็นหลัก ทั้งแง่ของเหตุผลและอารมณ์
.
- จึงต้องมีการใส่อารมณ์เข้าไป เล็กๆน้อยๆ และระวังการตอบแบบห้วนๆ ถ้าคนนั้นไม่รู้จักเราดีพอ
.
- การใส่คำต่อท้ายเข้าไป หรือการแสดงสติกเกอร์ ก็เป็นแบบอย่างที่ดีกว่า ในการสนทนาแบบแชท เพราะทำให้บทสนทนาดูเป็นมิตรขึ้น แต่คุณต้องใช้ให้ถูก เวลาคุยเรื่องจริงจัง ก็ควรพิมพ์แบบจริงจัง
.
- สิ่งที่ต้องรู้ให้มากๆเลยคือ "คำมันมีข้อจำกัดอยู่" เราไม่สามารถใช้คำแทนความหมายทุกอย่างได้ ดังนั้น การโทรคุยกัน หรือเจอหน้ากันย่อมดีกว่าการสนทการแบบพิมพ์กัน
.
- การค้นหาความหมายของชีวิต การใช้ชีวิต และการสืบต่อเรื่องราวของชีวิต ยังไงก็ต้องมี ความสำคัญของคำ แต่ละคำ ปนอยู่ ดังนั้นใช้มันให้ถูก และรู้ข้อจำกัดของมันด้วย การคุยต่อหน้ากันยังไงก็ยังดีที่สุด...
.
.
.
.
#TEDTOP
.
#TEDTalk #สรุปประเด็นเด่นจากTEDTalk
--------------
.
.
(เนื้อหาที่สรุป ดึงมาเฉพาะส่วนที่น่าสนใจ ผู้เขียนได้ใส่ความคิดเห็นและส่วนเสริมเข้าไป เพื่อให้เนื้อเรื่องน่าสนใจ สมบูรณ์ครบถ้วน และเหมาะกับภาษาเขียนมากยิ่งขึ้น)
.
.
| The conquest of new words
| John Koenig
| TEDxBerkeley

No comments:

Post a Comment