3. ขั้นตอนในการดำเนินการเจรจา
ขั้นตอนของการดำเนินการเจรจา (Discussion) อันหมายถึงเป็นขั้นตอนของการเจรจาต่อรองของคู่เจรจานั้น วัตถุประสงค์ในขั้นตอนนี้ก็คือการที่จะมีการทดสอบว่าคู่เจรจานั้นมีวัตถุประสงค์ในการเจรจาอย่างไร มีจุดอ่อนจุดแข็งและมีข้อจำกัดอย่างไร หรือพูดง่ายๆ คือ เป็นการทดสอบสิ่งที่ตนเองได้มีการเตรียมการ เป็นการทดสอบสิ่งที่เราเรียกว่า H.M.L.เพราะในขั้นตอนของการเตรียมการนั้นเราได้มีการทำการศึกษาถึงวัตถุประสงค์ แนวทางในการเจรจาข้อจำกัด ตลอดจนข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับคู่เจรจาและบริษัทของคู่เจรจา ในขั้นตอนของการดำเนินการเจรจา (Discussion ) นี้จึงเป็นช่วงโอกาสที่เราจะสามารถล้วงเอาข้อเท็จจริงเกี่ยวข้องกับคู่เจรจาเพื่อที่จะมาทดสอบดูว่าสิ่งที่เราเตรียมการไว้ว่าเป็นวัตถุประสงค์ของคู่เจรจานั้นตรงกับแนวทางที่เราตั้งเอาไว้หรือไม่ เพื่อจะได้มีการปรับ H.M.L. ที่เราตั้งไว้ให้ใกล้เคียงกับข้อเท็จจริงและมีความเป็นไปได้มากที่สุด และในขั้นตอนการดำนินการเจรจา (Discussion) นั้นสิ่งที่เราต้องการจะแสวงหาก็คือข้อมูลจากการพูดคุยโดยตรงกับคู่เจรจาในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความสนใจ ทัศนคติ ตลอดจนข้อจำกัดของคู่เจรจา
ในขั้นตอนของการดำเนินการเจรจา (Discussion) สิ่งที่จะทำให้เราได้มาซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับคู่เจรจานั้นต้องอาศัยปัจจัยที่มีความสำคัญมากประการหนึ่งนั่นก็คือ ความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกัน ความเชื่อมั่นที่มีต่อกัน (Trust) เพราะฉะนั้นในขั้นตอนนี้การปูพื้นเพื่อที่จะนำไปสู่การสร้างบรรยากาศแห่งความเข้าอกเข้าใจและความเชื่อมั่นที่มีต่อกันจึงนับเป็นเทคนิคประการสำคัญ ที่สอดแทรกอยู่ในขั้นตอนการดำเนินการเจรจา (Discussion) ในกรอบดังกล่าวอาจจะกล่าวได้ว่าการพบกันครั้งแรกนั้นนับว่าเป็นส่วนสำคัญ เพราะการพบกันครั้งแรกและการแนะนำตัวนั้นอาจจะเป็นจุดเริ่มต้นแห่งการสร้างบรรยากาศในเรื่องของการเชื่อมั่นที่มีต่อกันในช่วงของการเจรจาต่อรอง
ประเภทของการเจรจาต่อรอง จำแนกออกเป็น 3 ประเภทหลัก คือ
1. การเจรจาต่อรองทางการทูต
การเจรจาทางการทูตนั้นมีความเป็นทางการอย่างมากและเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของประเทศชาติ ดังนั้นลักษณะของการเจรจาจึงมีความเข้มข้น เนื้อหาสาระในการเจรจานั้นย่อมถูกกำหนดด้วยข้อเท็จจริง ในการเจรจาขั้นเตรียมการค่อนข้างจะมีความพิถีพิถันเนื่องจากผลประโยชน์แห่งชาติเป็นเดิมพัน
ลักษณะการเจรจาทางการทูตจึงอาจกล่าวได้ว่าสามารถที่จะมองจากการใช้ทฤษฎีเกมได้ดีที่สุดประการหนึ่ง เพราะทฤษฎีเกม(Game Theory) นั้นตั้งอยู่บนสมมติฐานที่ว่าผู้ร่วมนั้นจะมีข้อมูลใกล้เคียงกัน มีความรู้ความสามารถใกล้เคียงกัน และมีเหตุมีผลซึ่งจะไม่ทำให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้เปรียบ
2. การเจรจาต่อรองในทางการค้า (Commercial Negotiation)
ประเภทของการเจรจาทางการค้าจะมีความหลากหลายและมีความแตกต่างกันในระดับหนึ่ง โดยส่วนมากมักจะเป็นการเจรจาแบบอะลุ่มอล่วย ลักษณะการเจรจาต่อรองทางการค้าส่วนมากจะจบลงด้วยความได้เปรียบของผู้ซื้อและความเสียเปรียบของผู้ขายซึ่งส่วนหนึ่งนั้นอาจจะเป็นเพราะทัศนคติและความไม่ชำนาญของผู้เจรจา กล่าวคือความเสียเปรียบของผู้ขายเกิดจากการเตรียมการและทัศนคติที่ยอมตั้งแต่ต้นนั่นเอง
3. การเจรจาต่อรองในทางอุตสาหกรรม (Industrial Negotiation)
ส่วนใหญ่เป็นการเจรจาต่อรองระหว่างลูกจ้างกับนายจ้างในประเด็นข้อพิพาททางแรงงาน ลักษณะการเจรจาดังกล่าวมักเป็นบรรยากาศที่ค่อนข้างก้าวร้าวและบางครั้ง อาจดูเหมือนว่าอาจเกิดความรุนแรง หรืออาจจะหยุดชะงักเพราะฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ยอมเจรจาด้วยเพื่อสร้างแรงกดดันให้อีกฝ่ายหนึ่ง
การเจรจาต่อรองนั้นแม้ว่าจะมีหลักการเหมือนกันก็ตามแต่ว่า คู่เจรจาจะต้องเข้าใจในรายละเอียดในเรื่องของบรรยากาศ และท่าที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความแตกต่างที่เกิดจากประเภททางการทูต ทางการค้า และทางอุตสาหกรรม คู่เจรจาในแต่ละประเภทนั้นย่อมรู้ถึงจุดอ่อนจุดแข็งและเข้าใจถึงประเด็นแห่งความแตกต่าง จึงจะประสบความสำเร็จในการเจรจาและสามารถรักษาผลประโยชน์ได้มากที่สุดโดยได้ข้อยุติใกล้เคียงกับสิ่งที่ต้องการมากที่สุด
ลักษณะของการเจรจาต่อรอง จำแนกออกเป็น 2 รูปแบบ คือ
1. การเจรจาต่อรองแบบได้บางส่วน (Distributive Negotiation)
การเจรจาต่อรองแบบได้บางส่วน หมายถึง การเจรจาต่อรองในลักษณะที่ว่าผลประโยชน์จะต้องมีการกระจายระหว่างคู่เจรจาไม่มีคนใดได้ทั้งหมด การใช้ทฤษฎี H.M.L.ในทฤษฎีเกม ก็เข้าข่ายของการเจรจาต่อรองแบบได้บางส่วนดังจะเห็นได้ว่าไม่มีคู่เจรจาคนใดได้ 100% (Ideal Position)
2. การเจรจาต่อรองแบบได้เต็มส่วน (Integrative Negotiation)
การเจรจาต่อรองแบบได้เต็มส่วน หมายถึง การเจรจาต่อรองในลักษณะ ที่คู่เจรจาทุกฝ่ายจะ ได้เต็มที่ หรือ 100 % ซึ่งการเจรจาแบบนี้จะมีความยากลำบากกว่าการเจรจาต่อรองแบบได้บางส่วนเพราะความสำเร็จในการเจรจาลักษณะนี้ย่อมขึ้นอยู่กับขอบเขตและความลึกของข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการของคู่เจรจาในทางปฏิบัติการเจรจาต่อรองแบบได้เต็มส่วนเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก
นอกจากนี้ทฤษฎีเกมเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่นำเอาแมตริกซ์มาประยุกต์ใช้ในเรื่องของธุรกิจ เป็นการตัดสินใจภายใต้สภาวการณ์ที่มีการแข่งขัน การตัดสินใจประเภทนี้ ผู้บริหารไม่สามารถจะทำ ได้อย่างมีอิสระ แต่จะขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของคู่แข่งขันคนอื่นๆ ด้วย เช่น การกำหนดกลยุทธ์ในการโฆษณาสินค้า หรือการวางแนวทางในการส่งเสริมการขาย เป็นต้น
ในสถานการณ์ที่มีการแข่งขันระหว่างบุคคลตั้งแต่ 2 ฝ่าย หรือหน่วยงาน 2 หน่วยงานขึ้นไป เรียกการแข่งขันนี้ว่า เกม (game) สำหรับบุคคลหรือหน่วยงานที่แข่งขันกัน เรียกว่า ผู้เล่นเกม (players) ภายใต้สภาวการณ์ดังกล่าวนี้ ผู้เล่นเกมจะตัดสินใจอย่างไรจึงจะได้รับผลตอบแทน หรือประโยชน์เหนือฝ่ายตรงข้าม ทฤษฎีเกม(game theory) จะเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่ง ที่ช่วยให้ผู้เล่นเกมตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้เล่นเกมจะมีคู่แข่งขัน เรียกว่าฝ่ายตรงข้าม และผู้เล่นเกมแต่ละคนจะเลือกวิธีเล่นเกมได้หลายวิธี ซึ่งการเลือกวิธี เล่นเกมนี้จะเรียกว่า กลยุทธ์หรือกลวิธ ี(Strategies) กลวิธีที่ผู้ตัดสินใจเลือกเล่นแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. กลยุทธ์แท้ (pure Strategies) ผู้เล่นเกมที่เลือกใช้กลวิธีประเภทนี้ จะเลือกเล่นเกมโดยวิธีใดวิธีหนึ่งตลอดเวลา
2. กลยุทธ์ผสม (mixed startegies ) ผู้เล่นเกมที่เลือกใช้กลวิธีประเภทนี้ จะเลือกเล่นเกมโดยเล่นหลายวิธีผสมกัน
ในการเล่นเกมนั้นผู้เล่นแต่ละฝ่ายจะไม่ทราบว่าฝ่ายตรงข้ามจะเลือกเล่นเกมด้วยกลยุทธ์ใด จนกว่าการแข่งขันจะเริ่มต้นและเกมสิ้นสุดลง ฝ่ายแพ้จะเป็นผู้จ่ายค่าตอบแทน (payoff หรือ outcomes ) ให้แก่ฝ่ายชนะ ผลตอบแทนโดยเฉลี่ยต่อการเล่น 1 ครั้ง ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะได้ประโยชน์ เรียกว่า ค่าของเกม (vale of game)
การเล่นเกมจัดแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ เกมที่มีผู้เล่น 2 ฝ่าย (Two - person games) และเกมที่มีผู้เล่นหลายฝ่าย (n - person games ) เกมประเภทหลังนี้จะมีผู้เข้าร่วมเล่นเกมมากกว่า 2 ฝ่าย เช่น การแข่งขันทางด้านธุรกิจต่างๆ การเมืองระหว่าง ประเทศ เป็นต้น แต่ในที่นี้จะขอกล่าวเฉพาะเกมที่มีผู้เล่น 2 ฝ่าย เท่านั้น
เกมระหว่าง 2 ฝ่าย ที่มีผลรวมเท่ากับศูนย์ ( two - person zero - sum game )
เกมประเภทนี้เป็นที่รู้จักกันดี เป็นเกมที่สามารถนับจำนวนวิธีเล่นเกมของแต่ละฝ่ายได้ ส่วนการเลือกกลยุทธ์ของการเล่นนั้น ผู้เล่นเกมสามารถเลือกเล่นได้ทั้งแบบกลยุทธ์แท้ และกลยุทธ์ผสม เมื่อเกมสิ้นสุด ฝ่ายชนะจะได้รับผลตอบแทนจำนวนหนึ่ง ซึ่งเท่ากับจำนวนที่ฝ่ายแพ้ต้องจ่าย ดังนั้นผลรวมของค่าตอบแทนของผู้เล่นทั้งสองฝ่ายที่ได้รับและเสียจึงเท่ากับศูนย์
to be continue...
credit: http://oknation.nationtv.tv/blog/print.php?id=304896
No comments:
Post a Comment