C L I C K

Friday, 3 July 2015

ดินแดนแห่งการคัดลอก

ว่าด้วยเรื่องการคัดลอก หรือ เรียกกันตามภาษาทับศัพท์ว่า ก๊อปปี้(copy)

หลายๆคนคงไม่ชอบให้ใครมาเลียนแบบ หรือ ทำตาม แต่คุณเชื่อไหมว่าในสังคมไทยนั้น หลายๆพฤติกรรมเราทำตามกันอย่างพร้อมเพรียง ยกตัวอย่าง

เรามีTV digital (อันนี้สิ่งใหม่)
ผมคาดหวังว่าจะได้เจออะไรใหม่ๆ แต่กลับเจอรายการเก่าในระบบใหม่ ซึ่งล้วนแต่คัดสรรว่าสาระ(ไม่มี)เหมือนเดิม ไม่ว่าจะละครคุณภาพที่ตบกัน กรี๊ดกัน นางร้าย นางเอก เหมือนเดิน plot เดิมๆ หรือละครremake แบบเดิมๆ

เรามีการShare & Like ในFacebook โดยไม่ลืมหูลืมตา ทำตามๆกัน อย่างกรณีเสี่ยชาเขียว มีpageปลอมหลอกให้แชร์ ก็ทำตามกันไป โดยไม่พิเคราะห์กันเลยว่าข้อความหรือบุคคลที่ส่งสารเหล่านั้น คือของจริงหรือไม่
ประเด็นนึงที่น่าสนใจ กรณีเด็กหาย บางครั้งเด็กคนนั้น พบแล้วจนปัจจุบันโตจนจะเข้ามหาวิทยาลัย (ตอนที่หายยังอยู่ประถม) ลองคิดแหละกันว่าShare กันมามากและนานขนาดไหน คงพอๆกับจดหมายลูกโซ่ที่บอกว่า มาจากพระครูธรรมโชติ นั้นแหละ
พฤติกรรมจดหมายลูกโซ่กับการแชร์อย่างไม่มีวิจารญาณ น่าจะไม่ต่างกัน เพียงแต่เปลี่ยนช่องทางจากจดหมายเป็นfacebook & Line app แค่นั้นเอง

อีกเรื่องที่ผมรำคาญมากๆคือ การที่คนหลายๆคน นำสินค้ามาขายในfacebook ไปแปะในpageต่างๆ ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ขาย ตัวอย่างเช่น page ขายอสังหาริมทรัพย์ แต่มาขายครีมลดถุงใต้ตา ยาลดความอ้วน ผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพ อันนี้จะโทษว่ามันเป็นโปรแกรมหรือ app ที่สามารถ post อัตโนมัติ ผมไม่โทษทีโปรแกรม app  นะครับ แต่ผมโทษทีคนใช้เครื่องมือเหล่านี้ต่างหาก ลงแบบมั่วๆแบบนี้ ไม่ต่างกับที่แปะบริการเงินด่วน หนี้นอกระบบที่แปะตามเสาไฟฟ้า ตู้โทรศัพท์ เห็นแล้วก็รำคาญตา น่าเบื่อ และที่แย่คือ ไม่ได้เป็นแค่คนสองคน คนพวกนี้มีเป็นร้อยคน ผมเจอในpage ที่ผมดูแล ผมก็block และลบครับ ไม่รู้จะไปตักเตือนทำไม พวกนี้post แล้วไม่เคยตามมาดูหรอก รอแค่มีคนติดต่อมา เหมือนโยนเหยื่อ รอเบ็ดติด
ถ้าคิดจะลงขายสินค้า อย่าทำแบบนี้ ผลระยะยาวคือ ใครๆก็จะรำคาญเหมือนที่คุณเจอหน้าเพื่อนอย่างภาคภูมิใจว่า กูทำธุรกิจเครือข่าย กูทำขายตรง เชื่อเถอะ มากกว่า 90% จะมองคุณอย่างแปลกๆ ดีไม่ดีอาจจะเดินห่างๆ และหายไป หรือคิดว่ายังไงครับ

ผมเฝ้ามองพฤติกรรมหลายๆอย่างของคนไทยในยุคDigital เรามีความอดทนต่ำลงเรื่อยๆ เพราะความที่อะไรๆก็แค่ copy & paste (ก๊อปและแปะ) มันง่ายครับ แค่เอางานคนอื่นๆ คัดลอก ก๊อป แปะ การทำซ้ำมันง่ายกว่าการสร้างสรรค์ จึงไม่แปลกที่รายงานของเด็กยุคหลังๆ ก็หาจาก Wikipedia , Google แล้วก็แปะๆ โดยเนื้อหาก็ไม่ได้มีการตรวจทานแม้แต่น้อย อันนี้เรียกว่าเลียนแบบไม่มีศิลป์

การจะเป็นผู้นำแปลว่าคุณต้องคิดต่างออกไป การสร้างสรรค์งานใหม่ๆ บนพื้นฐานความคิดเดิมๆ ยังคงใช้ได้อยู่



อึกเรื่องที่ผมอยากกล่าวคือ คนทั่วไปชอบทำตามสิ่งทีคนอื่นได้ทำสำเร็จไปแล้ว. ดูตัวอย่าง การทำการเกษตรในประเทศไทย ไทยปลูกข้าวและเป็นผู้ส่งออกเป็นอันดับต้นๆของโลก แปลว่าเรามีเกษตรกรที่มีอาชีพปลูกข้าวเป็นหลัก เราเป็นประเทศที่ส่งออกยางพาราคุณภาพดี ไปทั่วโลก แต่เมื่อราคายางสูง คนส่วนมากแห่กันปลูกโดยคิดว่าราคาจะสูงตลอดจนถึงวันที่กรีดเลยเหรอ ไม่หรอก เมื่อปริมาณยางมีมาก ตามกลไกตลาด ราคาก็จะต่ำลง จากราคา140 ก็ดิ่งลงเหลือ40กว่าบาทมาแล้ว ถามว่าจะโทษใคร มันอยู่ที่แนวคิดครับ ถ้าคุณทำเหมือนคนอื่น คุณก็จะประสบเหมือนคนอื่นๆ ผมไม่โทษที่ชาวบ้าน ชาวสวนต้องมาเผชิญชะตากรรมจนต้องขายสวน ตัดยางทิ้ง แต่ผมกำลังจะย้อนไปสู่ต้นเหตุของวิธีคิดของเรา

ระบบการศึกษาของไทยนับตั้งแต่จำความได้  เราถูกสอนให้ท่องจำ บางอย่างจำกันโดยไม่มีเหตุผลมารองรับ จำเพราะครู อาจารย์บอกให้ท่อง มันคือกระบวนการเลียนแบบ ที่ขาดเหตุผลมารองรับ ไม่นับเรื่องการกระทำทางสังคมวัฒนธรรม เพราะนั้นคือกรอบของขนบธรรมเนียม ที่เราต้องกราบไหว้ผู้ใหญ่ ครู อาจารย์ หรือ พระ แต่ผมหมายถึงความรู้ ที่เราได้มา เราแค่จดจำ แต่ไม่วิเคราะห์ ว่าทำไมต้องจำ ทำ และเชื่อว่ามันจะดี เราเชื่อว่ามันดี มันสำเร็จ และนำความร่ำรวย มาสู่เรา เพราะ คนรุ่นก่อนๆก็ทำแบบนี้ ใช่ มันก็จริง แต่เราต้องเอาปัจจัยอื่นๆ แวดล้อม สังคม และ สถานการณ์ปัจจุบัน มาเป็นเครื่องมือประกอบการตัดสินใจ.

แนวพระราชดำริ ไร่นาสวนผสมคือแนวทางการปลูกที่ยั่งยืน จริงๆมองให้ลึกลงไป ไม่ใข่แค่การทำสวนไร่นา แต่พิเคราะห์ลงไปว่า ชีวิตคนเรานั้นอย่าทำงาน ธุรกิจอะไรให้เหมือนทำไร่ ทำนา เพียงแค่พืชชนิดเดียว หากวันนึงพืชชนิดนั้น สินค้าล้นตลาด ก็เหมือนคุณจบวิศวะ ที่ตกงาน เพราะคนจบมามากเกินไป บางคนก็เลือกไปเรียนต่อปริญญาโท เพราะเชื่อว่าปริญญาอีกใบจะทำให้คุณมีภาษีดีกว่า แต่ปริญญาอีกใบก็มีคนจบมามากไล่ๆกับปริญญาตรีอีก...กลายเป็นสินค้าที่ล้นตลาดอีก

แล้วจะทำยังไง...หล่ะ


คำตอบคือ คุณต้องสร้างความแตกต่าง เรียนรู้ และประกอบสิ่งรอบๆตัวคุณด้วยองค์ความรู้ในสิ่งที่เรียน ผสมผสานกับประสบการณ์ มุมมอง และวิถีในการดำรงค์ชีวิต ขอเพียงอย่าตีกรอบ.และดูถูกตัวเองครับ คนเราจะแพ้ก็แค่ใจตัวเองเท่านั้น...

ผมเปรียบเทียบว่าการเรียนประถมถึงมัธยม คือ การเรียนรู้แวดล้อม เรียนรู้สิ่งต่างๆ ในขีวิต

การเรียนมหาวิทยาลัย ในระดับปริญญาตรี คือการเรียนรู้จักเครื่องมือ คุณจบมาคุณก็มีกระเป๋าเครื่องมือหนึ่งใบ คุณจะหยิบอะไรออกมาใช้ก็ได้ ตามความถนัดของคุณ คุณอาจจะหยิบฆ้อนมาตีตะปู ติดรูปบนฝาผนัง หรือ จะเอาสว่านเจาะ ขันน็อต เพื่อติดรูป วิธีการของแต่ละคน ต่างออกไป แค่ผลลัพธ์ก็เหมือนๆกัน บางคนอาจจะเถียงว่า เอากาวสองหน้าแปะก็ติดรูปได้เหมือนกัน ผมไม่เถียง แต่ระยะยาวหละ กาวเสื่อมสภาพรูปตกมาแตก จะทำยังไง

นี้คือวิธีคิด คิดเอาง่ายๆ หรือ คิดยาวๆ หรือจะคิดแบบขอไปที หรือ คิดแบบเผื่ออนาคตมองยาวๆ

ชีวิตคนเราก็เหมือนวิธีคิด และ วิถีการทำงานครับ บางคนเน้นง่ายๆ แต่ไม่ละเอียด บางคนคิดแล้วคิดอีกแต่ไม่ทำสักที แล้วก็มีคนมักง่ายมาเลียนแบบ

แต่จงเชื่ออย่างนึงว่า คนที่ทำก่อน อย่างรอบคอบ วางแผนมาแล้ว จะได้เปรียบกว่าคนที่เลียนแบบ แต่ไม่เข้าใจอย่างลึกซึ้ง..

ถ้าคิดจะเลียนแบบอย่างมีชั้นเชิง จงนำความรู้เก่ามาพัฒนาและต่อยอด ให้ดียิ่งกว่า แต่ถ้าแค่จะลอกเลียนแล้วไม่พัฒนา คุณก็แค่เครื่องถ่ายสำเนา ที่ไม่นานสีจะซีดจาง และถูกลบเลือนครับ..









No comments:

Post a Comment